กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ
Lite:Forecasting
โลกร้อนของเราไม่เท่ากัน : ความเท่าเทียม เข้าถึง เข้าใจ ของ LGBTQ+ ในภาวะโลกร้อน
กุลสตรี ชัชวาลกิจกุล I 26 มิถุนายน 2566
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือที่เราเรียกว่า ‘ภาวะโลกร้อน’ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของทุกคนบนโลกนี้ และมีแนวโน้มว่าสถานการณ์ Climate Change จะส่งผลรุนแรงมากยิ่งขึ้น ถึงแม้ว่าเกือบทั่วโลกจะพยายามหยุดยั้งวิกฤตินี้ด้วยการพยายามควบคุมอุณหภูมิไม่ให้สูงเกิน 2 องศาเซลเซียส นอกจากเงื่อนไขที่ว่า อุณภูมิจริง ๆ ในแต่ละพื้นที่ของทั่วโลกที่ไม่เท่ากันแล้ว ความเหลื่อมล้ำเหล่านั้นก็ยังคงเกิดขึ้นกับคนทุกเพศทุกวัย ไม่เว้นแม้แต่กลุ่มเพศทางเลือก หรือ LGBTQ+
ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากที่สุดในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา พบว่า ประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 9 ของโลก"
หากอุณหภูมิโลกเกิน 2 องศาเซลเซียส จะทำให้ประชากรกว่าครึ่งหนึ่งของโลกมีความเสี่ยงต่อภาวะขาดสารอาหาร ส่งผลให้เกิดภัยพิบัติรุนแรงสุดขั้วจากสถานการณ์พายุ น้ำท่วมรุนแรง ระดับน้ำทะเลหนุน ภัยแล้ง และความร้อน โดยคาดว่ามีแนวโน้มที่จะสูงถึง 1.5 องศาเซลเซียส ระหว่างปี ค.ศ. 2030 - 2052 นอกจากนี้ การจัดลำดับ Global Climate Risk index ของ Germanwatch พบว่าประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 9 ของโลกที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากที่สุดในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา นั่นสะท้อนว่าประเทศไทยอยู่ในภาวะเสี่ยงสูงจากภาวะโลกร้อน
"LGBTQ+ กลายเป็นกลุ่มเปราะบางสูงทางสังคมและอาจเป็นกลุ่มที่ถูกปิดกั้นการเข้าถึงด้านสุขภาพ เมื่อเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติรุนแรงสุดขั้ว"
ถึงแม้ว่าปัจจุบัน สังคมจะเปิดโอกาสและพยายามสร้างความเท่าเทียมในสังคมกับชาว LGBTQ+ มากขึ้น แต่ต้องยอมรับว่าทั่วโลกยังพบปัญหาความไม่เสมอภาค ขาดความเข้าถึงและยังไม่เข้าใจ รวมถึงยังมีการเลือกปฏิบัติกับชาว LGBTQ+ โดยเฉพาะเมื่อเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติรุนแรงสุดขั้ว ซึ่งเป็นผลมาจากภาวะโลกร้อน LGBTQ+ จึงเป็นกลุ่มเปราะบางสูงทางสังคมและอาจเป็นกลุ่มที่ถูกปิดกั้นการเข้าถึงด้านสุขภาพโดยไม่ได้ตั้งใจ1
อะไร คือ ‘Climate Justice’
การแก้ปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับโลกกำลังกล่าวถึงประเด็น ‘Climate Justice’ หรือการสร้างความยุติธรรมในภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เนื่องจากมองว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะส่งผลกระทบต่อกลุ่มเปราะบางมากที่สุด เช่น ผู้ที่มีภาวะยากจน ผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงสูง รวมทั้ง LGBTQ+ เนื่องจากกลุ่มเหล่านี้มีความสามารถในการปรับตัวจากภาวะโลกร้อนในระดับต่ำ3
ด้วยเหตุนี้ การให้ความสำคัญกับ Climate Justice ผ่านมุมมองความเท่าเทียมทางสิทธิมนุษยชนหรือประเด็นเพศสภาพ ยังเป็นแนวทางการสร้างความเท่าเทียมทางสังคม เปิดโอกาสให้สังคมมองเห็นและเข้าใจชาว LGBTQ+ มากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อสร้างบรรทัดฐานทางสังคมและอนาคตที่ดีกว่าสำหรับคนรุ่นต่อไป
Writer | |
กุลสตรี ชัชวาลกิจกุล | |
บุคคลที่ไม่มี definition |
Proofreader | |
เบญจวรรณ ธวัชสุภา | |
Photographer | |
วิษณุ ศรีวิไล | |
มนุษย์ผู้เชื่อวันพีซมีจริง ฝันว่าวันนึงโลกมันจะดีขึ้นกว่าเดิม แต่พบว่าชีวิตที่เป็นอยู่มันไม่ได้ง่ายเลย ทำไงได้เราเชื่อไปแล้ว |
อ้างอิง