กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ
สุนิษา มะลิวัลย์, อธิษฐ์ พลทิพย์
กรมอนามัย ได้ดำเนินการสำรวจอนามัยโพลประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ประเด็น “พฤติกรรมการเลือกน้ำดื่ม 2567” สำรวจระหว่างวันที่ 1 – 29 กุมภาพันธ์ 2567 เพื่อสำรวจความคิดเห็นและพฤติกรรมของประชาชน สำหรับนำมาประกอบการวางแผน และการสื่อสารสร้างความรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม โดยมีผู้ตอบ จำนวน 700 คน สรุปผลการสำรวจ ดังนี้
1. คุณดื่มน้ำจากแหล่งใดบ่อยครั้งที่สุด?
ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่ ดื่มน้ำจากขวดน้ำบรรจุขวดปิดสนิทบ่อยครั้งมากที่สุด ร้อยละ 57.71 รองลงมา คือ น้ำประปาผ่านเครื่องกรองในบ้าน ร้อยละ 20.29 ดื่มน้ำบรรจุถัง 20 ลิตร ร้อยละ 17.86 และน้ำจากตู้น้ำหยอดเหรียญ ร้อยละ 5.29 ตามลำดับ รายละเอียดดังตาราง
อันดับ |
แหล่งน้ำดื่ม |
จำนวน |
ร้อยละ |
1 |
น้ำบรรจุขวดปิดสนิท |
404 |
57.71 |
2 |
น้ำประปาผ่านเครื่องกรองในบ้าน |
142 |
20.29 |
3 |
น้ำบรรจุถัง 20 ลิตร |
125 |
17.86 |
4 |
ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ |
37 |
5.29 |
5 |
น้ำประปาจากก๊อกโดยตรง |
10 |
1.43 |
6 |
น้ำฝน |
4 |
0.57 |
7 |
น้ำดื่มประชารัฐ |
3 |
0.43 |
8 |
น้ำบ่อตื้นหรือน้ำบาดาล |
1 |
0.14 |
2. ความพึงพอใจต่อแหล่งน้ำดื่ม
อันดับ |
แหล่งน้ำดื่ม |
จำนวน |
ความพึงพอใจ |
|||
ไม่พอใจ |
น้อย |
ปานกลาง |
มาก |
|||
1 |
น้ำบรรจุขวดปิดสนิท |
679 |
1.62 |
0.88 |
22.53 |
74.96 |
2 |
น้ำประปาผ่านเครื่องกรองในบ้าน |
596 |
3.36 |
9.73 |
45.97 |
40.94 |
3 |
น้ำบรรจุถัง 20 ลิตร |
619 |
4.04 |
19.55 |
45.56 |
30.86 |
4 |
น้ำจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ |
519 |
12.33 |
39.50 |
41.04 |
7.13 |
5 |
น้ำดื่มประชารัฐของหมู่บ้าน |
495 |
14.34 |
44.44 |
35.96 |
5.25 |
6 |
น้ำประปาจากก๊อกโดยตรง |
599 |
22.04 |
50.58 |
20.53 |
6.84 |
7 |
น้ำฝน |
485 |
38.76 |
42.27 |
15.88 |
3.09 |
8 |
น้ำบ่อตื้นหรือน้ำบาดาล |
486 |
39.51 |
41.77 |
15.23 |
3.50 |
แหล่งน้ำดื่มที่ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่เคยใช้และมีความพึงพอใจในระดับมาก สูงสุด 3 อันดับแรก คือ น้ำบรรจุขวดปิดสนิท ร้อยละ 74.96 (มีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจที่ 2.69) รองลงมาคือ น้ำประปาผ่านเครื่องกรองในบ้าน มีความพึงพอใจในระดับมากร้อยละ 40.94 (มีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจที่ 2.23) และน้ำบรรจุถัง 20 ลิตร มีความพึงพอใจในระดับมาก ร้อยละ 30.86 (มีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจที่ 1.99) ตามลำดับ รายละเอียดดังตาราง
อันดับ |
แหล่งน้ำดื่ม |
จำนวน |
%ผู้ใช้ |
Avg. |
1 |
น้ำบรรจุขวดปิดสนิท |
679 |
97.00 |
2.69 |
2 |
น้ำประปาผ่านเครื่องกรองในบ้าน |
596 |
85.14 |
2.23 |
3 |
น้ำบรรจุถัง 20 ลิตร |
619 |
88.43 |
1.99 |
4 |
น้ำจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ |
519 |
74.14 |
1.40 |
5 |
น้ำดื่มประชารัฐของหมู่บ้าน |
495 |
70.71 |
1.33 |
6 |
น้ำประปาจากก๊อกโดยตรง |
599 |
85.57 |
1.14 |
7 |
น้ำฝน |
485 |
69.29 |
0.84 |
8 |
น้ำบ่อตื้นหรือน้ำบาดาล |
486 |
69.43 |
0.83 |
3. "น้ำประปาดื่มได้" จริงหรือไม่?
ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่ คิดว่า “น้ำประปาดื่มได้” เป็นเรื่องไม่จริง ร้อยละ 54.22 และมีผู้ที่คิดว่าน้ำประปาดื่มได้จริง เพียงร้อยละ 31.04 อย่างไรก็ตามมีผู้ที่ไม่ทราบมาก่อนว่าน้ำประปาดื่มได้ ร้อยละ 14.74 รายละเอียดดังตาราง
อันดับ |
น้ำประปาดื่มได้ |
จำนวน |
ร้อยละ |
1 |
ไม่จริง |
379 |
54.22 |
2 |
จริง |
217 |
31.04 |
3 |
ไม่ทราบมาก่อน |
104 |
14.74 |
ผลรวม |
700 |
100.00 |
4. ทำไมคุณถึงคิดว่าน้ำประปาดื่มได้จริง?
ผู้ตอบแบบสำรวจ ที่มีความคิดเห็นว่าน้ำประปาดื่มได้จริง (217 คน) ให้เหตุผลที่คิดว่าน้ำประปาดื่มได้เพราะ มีระบบการผลิตน้ำประปาที่ได้มาตรฐาน ที่ร้อยละ 24.57 รองลงมาคือ ได้รับการการันตีจากกรมอนามัย ร้อยละ 12.57 และสะอาดดื่มได้ ปลอดภัยจากสารเคมี ร้อยละ 6.57 ตามลำดับ รายละเอียดดังตาราง
อันดับ |
ทำไมคุณถึงคิดว่าน้ำประปาดื่มได้จริง |
จำนวน |
ร้อยละ |
1 |
ระบบการผลิตน้ำประปาที่ได้มาตรฐาน |
172 |
24.57 |
2 |
ได้รับการการันตีจากกรมอนามัย |
88 |
12.57 |
3 |
สะอาดดื่มได้ ปลอดภัยจากสารเคมี |
46 |
6.57 |
4 |
คุณภาพการทำงานของผู้ผลิต |
26 |
3.71 |
5 |
ดื่มมานานแล้ว ยังไม่มีผลกระทบใดๆ |
23 |
3.29 |
5. สิ่งที่น่ากังวลเกี่ยวกับน้ำประปา
ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่ มีความกังวลเกี่ยวกับน้ำประปา ใน 3 ประเด็นแรก คือ ความสะอาดของสถานที่ผลิต (แหล่งผลิต/ผู้ผลิต และน้ำที่ใช้ผลิต) ร้อยละ 61.43 รองลงมาคือ ระบบการผลิตไม่ได้ตามมาตรฐาน ร้อยละ 40.14 และน้ำประปา/น้ำดื่ม ขาดแคลนในฤดูแล้ง ร้อยละ 32.71 อย่างไรก็ตามมีผู้ที่ไม่กังวลเกี่ยวกับน้ำประปา ร้อยละ 2 รายละเอียดดังตาราง
อันดับ |
สิ่งที่น่ากังวลเกี่ยวกับน้ำประปา |
จำนวน |
ร้อยละ |
1 |
ความสะอาดของสถานที่ผลิต |
430 |
61.43 |
2 |
ระบบการผลิตไม่ได้ตามมาตรฐาน |
281 |
40.14 |
3 |
น้ำประปา/น้ำดื่ม ขาดแคลนในฤดูแล้ง |
229 |
32.71 |
4 |
น้ำประปาดื่มไม่ได้ |
117 |
16.71 |
5 |
ราคาน้ำดื่มแพง |
66 |
9.43 |
6 |
ไม่กังวล |
14 |
2.00 |
นอกจากนี้ ผู้ตอบแบบสำรวจบางส่วนได้ให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นที่กังวลเกี่ยวกับน้ำประปา ดังนี้
6. กิจกรรมใดจะเป็นประโยชน์ที่สุดในวันน้ำโลก?
วันที่ 22 มีนาคม ของทุกปี องค์การสหประชาชาติ (UN) กำหนดให้เป็นวันน้ำโลก (World Water Day) ในปี 2567 นั้น ใช้ธีมว่า “Water for Peace” หรือ การใช้น้ำเพื่อสันติภาพ ซึ่งผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่มีความเห็นว่ากิจกรรมที่จะเป็นประโยชน์ที่สุดในวันน้ำโลกนี้ คือ กิจกรรมอนุรักษ์แหล่งน้ำเพื่อให้ใช้ได้ถึงคนรุ่นถัดไป ร้อยละ 60.40 รองลงมาคือ มีจุดบริการน้ำดื่มสะอาดฟรีสำหรับผู้ด้อยโอกาส เปราะบาง ไร้บ้าน ร้อยละ 29.27 การแบ่งปันน้ำระหว่างพรมแดนอย่างยุติธรรม ร้อยละ 7.75 และเฝ้าระวังภัยพิบัติร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน ร้อยละ 2.58 ตามลำดับ รายละเอียดดังตาราง
อันดับ |
กิจกรรมใดจะเป็นประโยชน์ที่สุดในวันน้ำโลก |
จำนวน |
ร้อยละ |
1 |
อนุรักษ์แหล่งน้ำเพื่อให้ใช้ได้ถึงคนรุ่นถัดไป |
421 |
60.40 |
2 |
จุดบริการน้ำดื่มสะอาดฟรีสำหรับผู้ด้อยโอกาส เปราะบาง ไร้บ้าน |
204 |
29.27 |
3 |
แบ่งปันน้ำระหว่างพรมแดนอย่างยุติธรรม |
54 |
7.75 |
4 |
เฝ้าระวังภัยพิบัติร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน |
18 |
2.58 |
นอกจากนี้ ผู้ตอบแบบสำรวจมีข้อคิดเห็นเพิ่มเติมต่อกิจกรรมที่ควรจัดให้มีในวันน้ำโลก ปี 2567 ได้แก่
สรุปผลการสำรวจ
แหล่งน้ำดื่มที่คนส่วนใหญ่ดื่มบ่อยมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ น้ำบรรจุขวดปิดสนิท ร้อยละ 48 รองลงมาคือน้ำประปาที่ผ่านเครื่องกรองน้ำในบ้าน ร้อยละ 17 และน้ำบรรจุถัง 20 ลิตร ร้อยละ 14.71 ตามลำดับ โดยสอดคล้องกับระดับความพึงพอใจต่อแหล่งน้ำดื่มที่ได้รับมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ น้ำบรรจุขวดปิดสนิท มีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจที่ 2.69 รองลงมาคือ น้ำประปาผ่านเครื่องกรองในบ้าน มีคะแนนเฉลี่ยที่ 2.23 และน้ำบรรจุถัง 20 ลิตร มีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจที่ 1.99 ตามลำดับ
ผู้ตอบแบบสำรวจเพียงร้อยละ 31.04 คิดว่าน้ำประปาดื่มได้จริง ในขณะที่คิดว่า “น้ำประปาดื่มได้” เป็นเรื่องไม่จริง ร้อยละ 54.22 และไม่ทราบมาก่อนว่าน้ำประปาดื่มได้ ร้อยละ 14.74 โดยเหตุผลที่คิดว่าน้ำประปาดื่มได้จริง คือ มีระบบการผลิตน้ำประปาที่ได้มาตรฐาน ที่ร้อยละ 24.57 รองลงมาคือ ได้รับการการันตีจากกรมอนามัย ร้อยละ 12.57 และสะอาดดื่มได้ ปลอดภัยจากสารเคมี ร้อยละ 6.57 ตามลำดับ ทั้งนี้ เมื่อถามถึงสิ่งที่กังวลเกี่ยวกับน้ำประปา พบว่ากังวลความสะอาดของสถานที่ผลิต (แหล่งผลิต/ผู้ผลิต และน้ำที่ใช้ผลิต) ร้อยละ 61.43 รองลงมาคือ ระบบการผลิตไม่ได้ตามมาตรฐาน ร้อยละ 40.14 และน้ำประปา/น้ำดื่ม ขาดแคลนในฤดูแล้ง ร้อยละ 32.71 อย่างไรก็ตามมีผู้ที่ไม่กังวลเกี่ยวกับน้ำประปา ร้อยละ 2
สำหรับวันน้ำโลก ในวันที่ 22 มีนาคม 2567 นี้ ซึ่งมีธีมว่า “Water for Peace” หรือ การใช้น้ำเพื่อสันติภาพ ผู้ตอบแบบสำรวจต้องการให้มีกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ ได้แก่ กิจกรรมอนุรักษ์แหล่งน้ำเพื่อให้ใช้ได้ถึงคนรุ่นถัดไป ร้อยละ 60.40 รองลงมาคือ มีจุดบริการน้ำดื่มสะอาดฟรีสำหรับผู้ด้อยโอกาส เปราะบาง ไร้บ้าน ร้อยละ 29.27 แบ่งปันน้ำระหว่างพรมแดนอย่างยุติธรรม ร้อยละ 7.75 ตามลำดับ
ข้อเสนอจากอนามัยโพล
จากผลการสำรวจอนามัยโพล มีข้อเสนอให้สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำผลสำรวจอนามัยโพลไปใช้ประโยชน์ดังนี้
1. เป็นข้อมูลประกอบเพื่อการวางแผนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานด้านการจัดการน้ำบริโภคอุปโภค โดยการบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
2. การสื่อสาร สร้างความรอบรู้ เพื่อสร้างความเข้าใจให้ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับประเด็น น้ำประปาดื่มได้ เนื่องจากผลการสำรวจ พบผู้ตอบเพียงร้อยละ 31.04 คิดว่าน้ำประปาดื่มได้จริง ดังนั้นจึงควรสร้างความรู้ความเข้าใจให้ประชาชนได้รับรู้ถึงข้อมูลดังกล่าว เพื่อการนำน้ำมาอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวันได้
3. วันน้ำโลก ในวันที่ 22 มีนาคม 2567 นี้ มีธีมว่า “Water for Peace” หรือ การใช้น้ำเพื่อสันติภาพ ควรประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดให้มีกิจกรรมที่เป็นประโยชน์และตรงตามความต้องการของประชาชน ได้แก่ จัดกิจกรรมอนุรักษ์แหล่งน้ำเพื่อให้ใช้ได้ถึงคนรุ่นถัดไป มีจุดบริการน้ำดื่มสะอาดฟรีสำหรับผู้ด้อยโอกาส เปราะบาง ไร้บ้าน เป็นต้น
ความร่วมมือจาก : สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ
Writer | |
![]() ![]() |
|
สุนิษา มะลิวัลย์ |
Editor | |
![]() |
|
เบญจวรรณ ธวัชสุภา | |
Content Creater & Web Design | |
![]() |
|
วิษณุ ศรีวิไล | |
มนุษย์ผู้เชื่อวันพีซมีจริง ฝันว่าวันนึงโลกมันจะดีขึ้นกว่าเดิม แต่พบว่าชีวิตที่เป็นอยู่มันไม่ได้ง่ายเลย ทำไงได้เราเชื่อไปแล้ว |
Writer | |
![]() |
|
อธิษฐ์ พลทิพย์ | |
นักศึกษา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
Proofreader | |
![]() |
|
ภูริพัฒน์ ชูธนโชต | |
นักศึกษา สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ |
สรุปผลอนามัยโพล ก.พ. 67.docx |
ขนาดไฟล์ 406KB
ดาวน์โหลด 21 ครั้ง
|
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย |