คุณกำลังมองหาอะไร?

ลสำรวจอนามัยโพล ปิดเทอมสุดสนุก เด็กวัยเรียนสุขภาพดี

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

02.05.2567
124
0
แชร์
02
พ.ค.
2567

ภัทราภรณ์ พวงศรี

 

 

กรมอนามัย ได้ดำเนินการสำรวจอนามัยโพลประจำเดือนเมษายน 2567 หัวข้อ "ปิดเทอมสุดสนุก เด็กวัยเรียนสุขภาพดี" ระหว่างวันที่ 1 เมษายน – 30 เมษายน 2567 เพื่อสำรวจความคิดเห็นความกังวลต่อพฤติกรรมสุขภาพของเด็กวัยเรียนในช่วงปิดเทอม เพื่อให้ได้ข้อมูลและข้อเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำหรับนำประกอบการวางแผน และการสื่อสารให้ความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนวัยรุ่น โดยมีผู้ตอบแบบสำรวจ จำนวน 777 คน สรุปผลการสำรวจ ดังนี้

 

ส่วนที่ 1 พฤติกรรมสุขภาพของเด็กวัยเรียนในช่วงปิดเทอม

1. ในช่วงปิดเทอมคุณคิดว่าเด็กๆ อาจมีปัญหาเรื่องใดบ้าง ?
ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่คิดว่าปัญหาในช่วงปิดเทอม 3 อันดับแรก คือ ปัญหาเด็กๆ ใช้สื่อออนไลน์ เล่นเกมส์ เคลื่อนไหวน้อย ไม่ออกกำลังกาย ร้อยละ 64.74 รองลงมา คือ ปัญหาอุบัติเหตุต่าง ๆ เช่น จมน้ำ การเล่น พลัดตกหกล้ม อุบัติเหตุบนท้องถนน ร้อยละ 41.31 และปัญหามลพิษ PM2.5 หรือป่วยจากอากาศร้อนจัด ร้อยละ 29.99 ตามลำดับ รายละเอียดดังตารางที่ 1

 

ตารางที่ 1 ในช่วงปิดเทอมคุณคิดว่าเด็ก ๆ อาจมีปัญหาเรื่องใดบ้าง ?

อันดับ

ในช่วงปิดเทอมคุณคิดว่าเด็ก ๆ อาจมีปัญหาเรื่องใดบ้าง ?

จำนวนผู้ตอบ

ร้อยละ

1

ใช้สื่อออนไลน์ เล่นเกมส์ เคลื่อนไหวน้อย

ไม่ออกกำลังกาย

503

64.74

2

อุบัติเหตุต่าง ๆ เช่น จมน้ำ การเล่น พลัดตกหกล้ม อุบัติเหตุบนท้องถนน

321

41.31

3

มลพิษ PM2.5 หรือป่วยจากอากาศร้อนจัด

233

29.99

4

พักผ่อนไม่เพียงพอ นอนดึก ตื่นสาย

226

29.09

5

กินอาหาร fast food ขนมกรุบกรอบ น้ำหวาน น้ำอัดลม

226

29.09

6

ขาดกิจกรรมสร้างสรรค์และพัฒนาตนเอง

150

19.31

7

การใช้สารเสพติด อบายมุข

67

8.62

8

โรคระบาดในช่วงปิดเทอม เช่น ไข้เลือดออก อุจจาระร่วง

65

8.37

9

ถูกทำร้ายร่างกาย ลักพาตัว หรือล่วงละเมิดทางเพศ

38

4.89

10

ความเครียด ซึมเศร้า ถูกกลั่นแกล้ง รังแก (Bullying)

25

3.22

11

ไม่มี

13

1.67

 

2. ในช่วงปิดเทอมคุณรู้สึกอย่างไรเมื่อเด็ก ๆใช้โทรศัพท์มือถือ/สื่อออนไลน์
ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่ ร้อยละ 61.13 รู้สึกกังวลเมื่อเด็ก ๆ ใช้โทรศัพท์มือถือ/สื่อออนไลน์ในช่วงปิดเทอม เพราะเด็กวัยเรียนควรมีกิจกรรมที่หลากหลายมากกว่านี้ รองลงมา คือ ร้อยละ 31.27 รู้สึกว่าเป็นเรื่องปกติ เป็นเรื่องธรรมดาในยุคนี้ และร้อยละ 5.02 รู้สึกพอใจเพราะเป็นวิธีเรียนรู้และปฏิสัมพันธ์แบบใหม่ ในขณะที่ร้อยละ 2.57 รู้สึกว่าไม่เป็นปัญหาเพราะเป็นการพักผ่อนหย่อนใจ ตามลำดับ รายละเอียดดังตารางที่ 2

 

ตารางที่ 2 ในช่วงปิดเทอมคุณรู้สึกอย่างไรเมื่อเด็ก ๆ ใช้โทรศัพท์มือถือ/สื่อออนไลน์

อันดับ

ในช่วงปิดเทอมคุณรู้สึกอย่างไรเมื่อเด็ก ๆ ใช้โทรศัพท์มือถือสื่อออนไลน์

จำนวนผู้ตอบ

ร้อยละ

1

กังวล เด็กวัยเรียนควรมีกิจกรรมที่หลากหลายมากกว่านี้

475

61.13%

2

ปกติ เป็นเรื่องธรรมดาในยุคนี้

243

31.27%

3

พอใจ เป็นวิธีเรียนรู้และปฏิสัมพันธ์แบบใหม่

39

5.02%

4

ไม่เป็นปัญหา เป็นการพักผ่อนหย่อนใจ

20

2.57%

 

3. ในช่วงปิดเทอมเด็ก ๆ ควรได้รับการดูแลสุขภาพด้านใดบ้าง
ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่ มีความคิดเห็นว่าช่วงปิดเทอม เด็ก ๆ ควรได้รับการดูแลสุขภาพในด้านต่าง ๆ โดย 3 อันดับแรก คือ เรื่องการออกกำลังกาย เคลื่อนไหวร่างกายให้มาก เช่น เล่น/ทำกิจกรรมกับครอบครัว ร้อยละ 53.93 รองลงมาคือ เรื่องจำกัดการใช้สื่อดิจิทัลและจอภาพ ไม่ควรเกิน 2 ชม./วัน ร้อยละ 42.08 และเรื่องการดูแลความปลอดภัยจากภัยออนไลน์ ร้อยละ 38.22 ตามลำดับ รายละเอียดดังตารางที่ 3

 

ตารางที่ 3 ในช่วงปิดเทอมเด็ก ๆ ควรได้รับการดูแลสุขภาพด้านใดบ้าง 

อันดับ

ในช่วงปิดเทอมเด็ก ๆ ควรได้รับการดูแลสุขภาพด้านใดบ้าง

จำนวนผู้ตอบ

ร้อยละ

1

ออกกำลังกาย เคลื่อนไหวร่างกายให้มาก เช่น เล่น

ทำกิจกรรมกับครอบครัว

419

53.93

2

จำกัดการใช้สื่อดิจิทัลและจอภาพ ไม่ควรเกิน 2 ชม./วัน

327

42.08

3

ดูแลความปลอดภัยจากภัยออนไลน์

297

38.22

4

สอนให้รู้จักวิธีป้องกันและหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุในบ้าน และนอกบ้าน

227

29.21

5

นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ 9-12 ชม./วัน

200

25.74

6

กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ถูกหลักโภชนาการ

198

25.48

7

มีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม เช่น สวมหน้ากาก ล้างมือ กินอาหารปรุงสุก เป็นต้น

171

22.01

 

4. คุณมีบุตรหลานในครอบครัวหรือไม่
ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่ มีบุตรหลานในครอบครัว คิดเป็นร้อยละ 62.55 และไม่มีบุตรหลานในครอบครัว ร้อยละ 37.45 รายละเอียดดังตารางที่ 4

 

ตารางที่ 4 คุณมีบุตรหลานในครอบครัวหรือไม่

อันดับ

คุณมีบุตรหลานในครอบครัวหรือไม่

จำนวนผู้ตอบ

ร้อยละ

1

มี

486

62.55

2

ไม่มี

291

37.45

 

4.1 เด็ก ๆ กำลังศึกษาอยู่ในระดับใด
จากผู้ตอบแบบสำรวจ 486 คน ที่ตอบว่ามีบุตรหลานในครอบครัว ส่วนใหญ่เป็นเด็กที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 40.74 รองลงมา คือ ระดับประถมศึกษา ร้อยละ 32.51 ระดับเตรียมอนุบาลและอนุบาล ร้อยละ 21.19 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ร้อยละ 14.61 และระดับอุดมศึกษา ร้อยละ 16.87 ตามลำดับ รายะลเอียดดังตารางที่ 4.1

 

ตารางที่ 4.1 เด็กๆ กำลังศึกษาอยู่ในระดับใด

อันดับ

เด็ก ๆ กำลังศึกษาอยู่ในระดับใด

ร้อยละ

1

มัธยมศึกษาตอนต้น

40.74

2

ประถมศึกษา

32.51

3

เตรียมอนุบาลและอนุบาล

21.19

4

มัธยมศึกษาตอนปลาย

14.61

5

อุดมศึกษา

16.87

 

4.2 เด็ก ๆ มีพฤติกรรมสุขภาพอย่างไร
จากผู้ตอบแบบสำรวจ 486 คน ที่ตอบว่ามีบุตรหลานในครอบครัว พบว่า พฤติกรรมด้านสุขภาพของเด็กที่ทำเป็นประจำ ได้มากที่สุดคือ แปรงฟันตามหลัก 2:2:2 ทุกวัน ร้อยละ 68.31 รองลงมาคือนอนหลับพักผ่อนเพียงพอ 9-12 ชม./วัน หรือเข้านอนไม่เกิน 3 ทุ่ม ร้อยละ 64.38 และมีพฤติกรรมการกินอาหารครบ 5 หมู่ หลากหลายตามปริมาณและสัดส่วนตามคำแนะนำ ร้อยละ 62.55 ตามลำดับ ส่วนพฤติกรรมสุขภาพ ที่เด็กๆ ทำเป็นประจำได้น้อยที่สุด คือ ดื่มนม วันละ 2 แก้ว ร้อยละ 50.82 และการมีกิจกรรมทางกายสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 60 นาที ร้อยละ 51.44 ตามลำดับ รายละเอียดดังตารางที่ 4.2

 

ตารางที่ 4.2 เด็ก ๆ พฤติกรรมสุขภาพอย่างไร

อันดับ

เด็ก ๆ มีพฤติกรรมสุขภาพอย่างไร

ร้อยละ

ประจำ

บางครั้ง

ไม่ได้ทำ

1

แปรงฟันตามหลัก 2:2:2 ทุกวัน

68.31

30.83

0.83

2

นอนหลับพักผ่อนเพียงพอ 9-12 ชม./วัน หรือเข้านอนไม่เกิน 3 ทุ่ม

64.38

31.48

3.91

3

กินอาหารครบ 5 หมู่ หลากหลาย ตามปริมาณและสัดส่วนตามคำแนะนำ

62.55

34.57

2.88

4

มีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม เช่น สวมหน้ากาก ล้างมือ กินอาหารปรุงสุก เป็นต้น

73.46

25.31

1.23

5

มีกิจกรรมทางกายสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 60 นาที

51.44

40.53

8.02

6

ดื่มนม วันละ 2 แก้ว

50.82

41.98

7.20

 

5. คุณเห็นด้วยหรือไม่ “สังคมไทยควรเข้มงวดมากขึ้นในการดูแลพฤติกรรมเด็ก ๆ ช่วงปิดเทอม”
ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่ ร้อยละ 49.94 เห็นด้วยบางส่วนกับการที่สังคมไทยควรเข้มงวดมากขึ้นในการดูแลพฤติกรรมเด็กๆในช่วงปิดเทอม โดยคิดว่าสังคมต้องมีระเบียบแต่ไม่ควรเข้มงวดจนเกินไป รองลงมาคือ ร้อยละ 43.76 เห็นด้วยอย่างยิ่ง เพื่อป้องกันปัญหาต่างๆ และร้อยละ 5.53 ไม่แน่ใจ ขึ้นอยู่กับสภาพปัญหาและสถานการณ์ ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 0.77 ไม่เห็นด้วย เพราะเด็กและวัยรุ่นควรมีอิสระ รายละเอียดดังตารางที่ 5

 

ตารางที่ 5 คุณเห็นด้วยหรือไม่ “สังคมไทยควรเข้มงวดมากขึ้นในการดูแลพฤติกรรมเด็ก ๆ ช่วงปิดเทอม”

อันดับ

สังคมไทยควรเข้มงวดมากขึ้นในการดูแลพฤติกรรมเด็ก ๆ ช่วงปิดเทอม

ร้อยละ

1

เห็นด้วยบางส่วน สังคมต้องมีระเบียบแต่ไม่ควรเข้มงวดจนเกินไป

49.94

2

เห็นด้วยอย่างยิ่ง เพื่อป้องกันปัญหาต่างๆ

43.76

3

ไม่แน่ใจ ขึ้นอยู่กับสภาพปัญหาและสถานการณ์

5.53

4

ไม่เห็นด้วย เด็กและวัยรุ่นควรมีอิสระ

0.77

 

6. ท่านมีความกังวลเกี่ยวกับเด็กเรื่องอะไรบ้าง ในช่วง "เปิดเทอม" ที่กำลังจะมาถึงนี้
ผู้ตอบแบบสำรวจ ให้ความคิดเห็นว่ามีความกังวลเกี่ยวกับเด็กในช่วง "เปิดเทอม" ที่กำลังจะมาถึง ในเดือนพฤษภาคม 2567 ในเรื่องต่อไปนี้
- กังวลเรื่องปัญหาโรคระบาดที่กำลังจะเกิดขึ้นเนื่องจากเกิดการรวมตัวของการเปิดเรียน
- อุบัติเหตุ ได้แก่ เด็กจมน้ำ อุบัติเหตุบนท้องถนน
- การใช้บุหรี่ไฟฟ้าที่มีขายเกลื่อนตลาด
- อากาศร้อนมีผลต่อการเรียน
- อาหารการกินที่ไม่ถูกสุขลักษณะ เป็นต้น

 

ส่วนที่ 2 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสำรวจ

ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง ร้อยละ 76.71 ส่วนใหญ่มีอายุอยู่ในช่วง 45-59 ปี ร้อยละ 41.94 มีอาชีพรับราชการ/รัฐวิสาหกิจ/พนักงานของรัฐ/ลูกจ้างรัฐ (ที่ไม่ได้อยู่ภาคสาธารณสุข) ร้อยละ 25.23 รองลงมาคือ รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 12.48 และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข/บุคลากรทางการแพทย์/บุคลากรกระทรวงสาธารณสุข ร้อยละ 11.20 และอยู่ในเขตการปกครองขององค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ร้อยละ 31.02

 

ตารางที่ 2.1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสำรวจ

ข้อมูลทั่วไป

จำนวนผู้ตอบ

ร้อยละ

เขตการปกครอง

เขตการปกครองรูปแบบพิเศษ (กทม./พัทยา)

141

18.15

เทศบาลตำบล

236

30.37

เทศบาลนคร

47

6.05

เทศบาลเมือง

112

14.41

องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)

241

31.02

เพศ

หญิง   

596

76.71

ชาย

153

19.69

LGBTQIAN+

28

3.60

อายุ

15 - 24 ปี       

27

3.54

25 - 44 ปี       

200

26.21

45 - 59 ปี       

320

41.94

60 ปี ขึ้นไป     

200

2.10

อาชีพ

รับราชการ/รัฐวิสาหกิจ/พนักงานของรัฐ/ลูกจ้างรัฐ (ที่ไม่ได้อยู่ภาคสาธารณสุข)

196

25.23

รับจ้างทั่วไป

97

12.48

เจ้าหน้าที่สาธารณสุข/บุคลากรทางการแพทย์/บุคลากรกระทรวงสาธารณสุข

87

11.20

พนักงานบริษัทเอกชน/ลูกจ้างเอกชน

85

10.94

อสม.

77

9.91

ธุรกิจส่วนตัว/ค้าขาย (ที่ไม่ใช่ในตลาด)/อาชีพอิสระ

58

7.46

อื่น ๆ

44

5.67

ว่างงาน/ระหว่างรองาน

40

5.15

เกษียณราชการ

36

4.63

แม่บ้าน/พ่อบ้าน

24

3.09

เกษตรกร

18

2.32

ค้าขาย (ในตลาด)

15

1.93

 

สรุปผลการสำรวจ

ผลสำรวจอนามัยโพลประจำเดือนเมษายน 2567 หัวข้อ “ปิดเทอมสุดสนุก เด็กวัยเรียนสุขภาพดี” ระหว่างวันที่ 1 – 30 เมษายน 2567 มีผู้ตอบแบบสำรวจ 777 คน ให้ความคิดเห็นว่าเด็ก ๆ อาจจะมีปัญหาในช่วงปิดเทอมในเรื่องต่อไปนี้ 3 ลำดับแรก คือ ปัญหาการใช้สื่อออนไลน์ เล่นเกมส์ เคลื่อนไหวน้อย ไม่ออกกำลังกาย ร้อยละ 64.74 รองลงมา คือ ปัญหาอุบัติเหตุต่างๆ เช่น จมน้ำ การเล่น พลัดตกหกล้ม อุบัติเหตุบนท้องถนน ร้อยละ 41.31 และปัญหามลพิษ PM2.5 หรือป่วยจากอากาศร้อนจัด ร้อยละ 29.99 ตามลำดับ

เมื่อถามถึงการใช้โทรศัพท์มือถือ/สื่อออนไลน์ของเด็กๆ ในช่วงปิดเทอม ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่ ร้อยละ 61.13 มีความกังวลว่าเด็กวัยเรียนควรมีกิจกรรมที่หลากหลายมากกว่านี้ รองลงมา ร้อยละ 31.27 มีความรู้สึกว่าเป็นเรื่องปกติ เพราะเป็นเรื่องธรรมดาในยุคนี้ และร้อยละ 5.02 รู้สึกพอใจ เพราะเป็นวิธีเรียนรู้และปฏิสัมพันธ์แบบใหม่ ในขณะที่ ร้อยละ 2.57 คิดว่าไม่เป็นปัญหาเพราะเป็นการพักผ่อนหย่อนใจ ตามลำดับ เมื่อถามความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นที่เด็กควรได้รับการดูแลในช่วงปิดเทอม มากที่สุดคือ  เด็กๆ ควรได้รับการดูแลใน เรื่อง การออกกำลังกาย โดยอยากให้เด็กเคลื่อนไหวร่างกายให้มาก เช่น เล่น ทำกิจกรรมกับครอบครัว ร้อยละ 53.93  รองลงมาคือ อยากให้จำกัดการใช้สื่อดิจิทัลและจอภาพ ไม่ควรเกิน 2 ชม./วัน ร้อยละ 42.08 และ อยากให้เด็กได้รับการดูแลความปลอดภัยจากภัยออนไลน์ ร้อยละ 38.22 ตามลำดับ 

เมื่อวิเคราะห์เฉพาะผู้ที่มีบุตรหลานในครอบครัว ซึ่งมีร้อยละ 62.55 ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด (486 คน) พบว่า เด็กส่วนใหญ่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 40.74 รองลงมา คือ ระดับประถมศึกษา ร้อยละ 32.51 ระดับเตรียมอนุบาลและอนุบาล ร้อยละ 21.19 ตามลำดับ โดยเมื่อถามถึงพฤติกรรมสุขภาพของเด็ก พบว่า พฤติกรรมที่เด็กทำเป็นประจำ ได้มากที่สุดคือ แปรงฟันทุกวัน ร้อยละ 68.31 รองลงมาคือนอนหลับพักผ่อนเพียงพอ ร้อยละ 64.38 และมีพฤติกรรมการกินอาหารครบ 5 หมู่ ร้อยละ 62.55  ตามลำดับ ส่วนพฤติกรรมสุขภาพ ที่เด็กทำเป็นประจำได้น้อยที่สุด คือ ดื่มนม วันละ 2 แก้ว ร้อยละ 50.82 และมีกิจกรรมทางกายสม่ำเสมอ ร้อยละ 51.44 ตามลำดับ

ทั้งนี้ ร้อยละ 49.94 เห็นด้วยบางส่วนกับการที่สังคมไทยควรเข้มงวดมากขึ้นในการดูแลพฤติกรรมเด็กๆในช่วงปิดเทอม โดยคิดว่าสังคมต้องมีระเบียบแต่ไม่ควรเข้มงวดจนเกินไป ในขณะที่ร้อยละ 43.76 เห็นด้วยอย่างยิ่ง เพื่อป้องกันปัญหาต่างๆ และร้อยละ 5.53 ไม่แน่ใจ ขึ้นอยู่กับสภาพปัญหาและสถานการณ์ ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 0.77 ไม่เห็นด้วย เพราะเด็กและวัยรุ่นควรมีอิสระ

สำหรับช่วงเปิดเทอม เดือน พ.ค. 2567 ที่กำลังจะมาถึง ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า มีความกังวลเกี่ยวกับเด็กในประเด็นต่อไปนี้คือ กังวลปัญหาโรคระบาดที่กำลังจะเกิดขึ้นเนื่องจากเกิดการรวมตัวของการเปิดเรียน ปัญหาอุบัติเหตุ (ได้แก่ เด็กจมน้ำ อุบัติเหตุบนท้องถนน๗ ปัญหาการใช้บุหรี่ไฟฟ้าที่มีขายเกลื่อนตลาด ปัญหาอากาศร้อนมีผลต่อการเรียน และปัญหาอาหารการกินที่ไม่ถูกสุขลักษณะ เป็นต้น

 

ข้อเสนอจากผลการสำรวจ

จากผลการสำรวจอนามัยโพล มีข้อเสนอให้ งานอนามัยวัยเรียนวัยรุ่น สำนักส่งเสริมสุขภาพ กองกิจกรรมทางกาย และกองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ นำผลสำรวจอนามัยโพลไปเป็นข้อมูลประกอบเพื่อการวางแผน และการสื่อสารให้ความรู้เพื่อส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนวัยรุ่น และลดความกังวลของผู้ปกครอง ดังนี้

1. จากผลอนามัยโพลพบว่า พฤติกรรมที่เด็กทำเป็นประจำได้น้อยที่สุด คือ การดื่มนม และมีกิจกรรมทางกาย ซึ่งสอดคล้องกับประเด็นที่ผู้ตอบส่วนใหญ่กังวลเกี่ยวกับเด็กในช่วงปิดเทอม คือ เด็กใช้สื่อออนไลน์ เล่นเกมส์ เคลื่อนไหวน้อย ไม่ออกกำลังกาย ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ และคาดว่าปัญหานี้จะมีเพิ่มขึ้นในอนาคต ดังนั้นเพื่อส่งเสริมให้เด็กมีพฤติกรรมการทำกิจกรรมทางกายให้มากขึ้น และลดความกังวลของผู้ปกครอง จึงควรมีการสื่อสารให้คำแนะนำในการดูแลเด็ก โดยเน้นย้ำให้เด็กทำกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวร่างกายที่เหมาะสมและหลากหลาย รวมทั้งจำกัดเวลาการใช้สื่อออนไลน์ หรืออยู่หน้าจอ โดยกิจกรรมต่างๆ นั้น ได้แก่ การเล่น ออกกำลังกาย ทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว อ่านหนังสือ เล่นดนตรี เล่นกีฬา หรืองานอดิเรกอื่น ๆ เป็นต้น

2. สำหรับการเปิดเทอม เดือน พ.ค. 2567 ที่จะถึงนี้ ควรนำผลอนามัยโพลไปประกอบการวางแผนเพื่อเตรียมมาตรการในการส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนวัยรุ่นที่ช่วยลดความกังวลของผู้ปกครอง ได้แก่ ปัญหาโรคระบาดที่กำลังจะเกิดขึ้นเนื่องจากเกิดการรวมตัวของการเปิดเรียน ปัญหาอุบัติเหติ ได้แก่ เด็กจมน้ำ อุบัติเหตุบนท้องถนน ปัญหาการใช้บุหรี่ไฟฟ้าที่มีขายเกลื่อนตลาด ปัญหาอากาศร้อนมีผลต่อการเรียน และปัญหาอาหารการกินที่ไม่ถูกสุขลักษณะ เป็นต้น 

 

ความร่วมมือโดย กองอนามัยวัยเรียนวัยรุ่น

 

 

 

  Writer
 
  ภัทราภรณ์ พวงศรี

 

  Editor
 
  สุนิสา มะลิวัลย์

 

  Executive Editor
 
  เบญจวรรณ ธวัชสุภา

 

  Data Developer
 
  สุธาสินี จันส่ง

 

  Content Creater & Web Design
 
  วิษณุ ศรีวิไล
 

มนุษย์ผู้เชื่อวันพีซมีจริง

 

ไฟล์ที่เกี่ยวข้อง

2567 04 ผลสำรวจอนามัยโพลปิดเทอม.pdf
ขนาดไฟล์ 414KB
ดาวน์โหลด 2 ครั้ง
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน