กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ
ภัทราภรณ์ พวงศรี
กรมอนามัย ได้ดำเนินการสำรวจอนามัยโพล เรื่อง “พฤติกรรมการดื่มนม” โดยสำรวจสถานการณ์พฤติกรรมและความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการดื่มนมของประชาชน เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ สังเคราะห์เพื่อประกอบการการวางแผน และสื่อสารสร้างความรอบรู้แก่ประชาชนด้านส่งเสริมสุขภาพ โดยเฉพาะ ด้านโภชนาการและการดื่มนมเพื่อสุขภาพ โดยสำรวจระหว่างวันที่ 1 – 31 พฤษภาคม 2567 มีผู้ตอบ จำนวน 1,148 คน สรุปผลการสำรวจ ดังนี้
1. คุณดื่มนมหรือไม่ (นมทุกชนิด)
ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่ ดื่มนม ร้อยละ 88.94 และมีเพียงร้อยละ 11.06 ที่ไม่ดื่มนม รายละเอียดดังตารางที่ 1
ตารางที่ 1 คุณดื่มนมหรือไม่ (นมทุกชนิด)
อันดับ |
คุณดื่มนมหรือไม่ (นมทุกชนิด) |
จำนวน |
ร้อยละ |
1 |
ดื่ม |
1,021 |
88.94 |
2 |
ไม่ดื่ม |
127 |
11.06 |
รวม |
1,148 |
100.00 |
1.1 หนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมา คุณดื่มนมกี่วัน
เมื่อวิเคราะห์เฉพาะผู้ที่ตอบว่า ดื่มนม 1,021 คน มีผู้ที่ตอบว่าดื่มนมทุกวันในหนึ่งสัปดาห์ ที่ร้อยละ 19.69 ดื่มนม 5 - 6 วันต่อสัปดาห์ที่ร้อยละ 6.76 ตอบว่าดื่มนม 3 – 4 วันในหนึ่งสัปดาห์ ร้อยละ 23.51 ในขณะที่ส่วนใหญ่ ดื่มนม 1 – 2 วันในหนึ่งสัปดาห์ ร้อยละ 50.05 รายละเอียดดังตารางที่ 2
ตารางที่ 2 หนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมา คุณดื่มนมกี่วัน
อันดับ |
หนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมา คุณดื่มนมกี่วัน |
จำนวน |
ร้อยละ |
1 |
1 – 2 วัน |
511 |
50.05 |
2 |
3 – 4 วัน |
240 |
23.51 |
3 |
ดื่มทุกวัน |
201 |
19.69 |
4 |
5 - 6 วัน |
69 |
6.76 |
รวม |
1,021 |
100.00 |
1.2 คุณดื่มนมวันละกี่แก้ว
เมื่อวิเคราะห์เฉพาะผู้ที่ตอบว่า ดื่มนม 1,021 คน เกี่ยวกับปริมาณนมที่ดื่มใน 1 วัน พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 82.37 ดื่มนม 1 แก้วต่อวัน รองลงมาคือ ดื่มนมวันละ 2 แก้ว ร้อยละ 11.95 ดื่มนมมากกว่า 3 แก้ว ร้อยละ 4.21 และดื่มนม 3 แก้วต่อวัน ร้อยละ 1.47 ตามลำดับ รายละเอียดดังตารางที่ 3
ตารางที่ 3 คุณดื่มนมวันละกี่แก้ว
อันดับ |
คุณดื่มนมวันละกี่แก้ว |
จำนวน |
ร้อยละ |
1 |
1 แก้ว |
841 |
82.37 |
2 |
2 แก้ว |
122 |
11.95 |
3 |
มากกว่า 3 แก้ว |
43 |
4.21 |
4 |
3 แก้ว |
15 |
1.47 |
รวม |
1,021 |
100.00 |
1.3 คุณดื่มนม รสชาติ/กลิ่น ใดเป็นประจำ
เมื่อวิเคราะห์เฉพาะผู้ที่ตอบว่า ดื่มนม 1,021 คน เกี่ยวกับรสชาติ/กลิ่นของนมที่นิยมดื่มมากที่สุด พบว่า 3 อันดับแรก คือ รสจืด ร้อยละ 58.57 รองลงมาคือ รสอื่นๆ ร้อยละ 10.58 และรสหวาน ร้อยละ 10.58 ตามลำดับ รายละเอียดดังตาราง 4
ตารางที่ 4 คุณดื่มนม รสชาติ/กลิ่น ใดเป็นประจำ
อันดับ |
คุณดื่มนม รสชาติ/กลิ่น ใดเป็นประจำ |
จำนวน |
ร้อยละ |
1 |
รสจืด |
598 |
58.57 |
3 |
รสหวาน |
108 |
10.58 |
2 |
รสอื่นๆ |
108 |
10.58 |
4 |
รสช็อกโกแลต |
101 |
9.89 |
5 |
รสไวท์มอลต์ |
39 |
3.82 |
6 |
รสสตรอเบอรี่ |
38 |
3.72 |
7 |
รสน้ำผึ้ง |
15 |
1.47 |
8 |
กลิ่นกล้วยหอม |
11 |
1.08 |
9 |
กลิ่นเมล่อนญี่ปุ่น |
3 |
0.29 |
รวม |
1,021 |
100.00 |
1.4 เหตุผลสำคัญในการเลือกดื่มนม
ผู้ตอบแบบสำรวจ ให้เหตุผลในการเลือกดื่นนม 3 อันดับแรก คือ มีคุณค่าทางโภชนาการ ร้อยละ 54.79 รองลงมาคือ รสชาติของนม ร้อยละ 34.41 และสินค้ามีคุณภาพ ร้อยละ 32.49 ตามลำดับ รายละเอียดดังตารางที่ 5
ตารางที่ 5 เหตุผลสำคัญในการเลือกดื่มนม
อันดับ |
เหตุผลสำคัญในการเลือกดื่มนม |
จำนวน |
ร้อยละ |
1 |
คุณค่าโภชนาการ |
629 |
54.79 |
2 |
รสชาติของนม |
395 |
34.41 |
3 |
สินค้ามีคุณภาพ |
373 |
32.49 |
4 |
ปริมาณแคลอรี่/ไขมัน/น้ำตาล |
337 |
29.36 |
5 |
ราคาเหมาะสม |
271 |
23.61 |
6 |
ความสะดวกของสถานที่ |
109 |
9.49 |
7 |
ลดราคา/ชิงรางวัล |
92 |
8.01 |
8 |
ช่วยให้นอนหลับ |
64 |
5.57 |
9 |
บรรจุภัณฑ์ |
50 |
4.36 |
10 |
สื่อโฆษณา |
28 |
2.44 |
11 |
ชื้อตามศิลปิน |
18 |
1.57 |
1.5 คุณไม่เห็นด้วยกับข้อใดต่อไปนี้
จากข้อความที่ให้ผู้ตอบเลือกตอบ แสดงในตารางที่ 6 สรุปข้อความที่มีผู้ตอบไม่เห็นด้วย เรียงตามลำดับ ไม่เห็นด้วยมากที่สุดไป ไม่เห็นด้วยน้อยที่สุด โดยจำแนกตามข้อความที่ไม่ถูกต้อง และข้อความที่ถูกต้อง ดังนี้
1) ข้อความที่ไม่ถูกต้อง ได้แก่
- “นมปรุงแต่งกลิ่น/รส มีประโยชน์เท่า นมรสจืด” คำอธิบายคือนมปรุงแต่งกลิ่น/รส มักมีพลังงาน น้ำตาล มากกว่านมรสจืด ซึ่งสารอาหารเหล่านี้ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ดังนั้น นมรสจืดจึงมีประโยชน์มากกว่า มีผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับข้อความนี้ ร้อยละ 39.98
- “ดื่มนมวัวประจำทำให้ มีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องเสีย ได้ง่าย” คำอธิบายคือ อาการเหล่านี้มักพบในผู้ที่ไม่ได้ดื่มนมมานาน หรือเนื่องมาจากเมื่ออายุมากขึ้นน้ำย่อยชื่อแลคเตสที่ใช้ในการย่อยน้ำตาลแลคโตสในนมจะลดน้อยลงหรือหมดไป ดังนั้นการดื่มนมวัวเป็นประจำจึงไม่ทำให้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องเสียได้ง่าย พบมีผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับข้อความนี้ ร้อยละ 35.28
- “นมธัญพืช ทดแทนประโยชน์จากนมวัวได้” คำอธิบายคือ นมธัญพืชมีประโยชน์ แต่สารอาหารบางชนิด เช่น แคลเซียม โปรตีน และวิตามินดี อาจมีปริมาณน้อยกว่านมวัว ดังนั้น นมธัญพืชมีกรดอะมิโนจำเป็นน้อยกว่านมจากสัตว์ นมธัญพืชไม่สามารถทดแทนประโยชน์จากนมวัวได้ทั้งหมด พบมีผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับข้อความนี้ ร้อยละ 17.86
2) สำหรับข้อความที่ถูกต้อง แต่กลับมีผู้ที่ไม่เห็นด้วย ได้แก่
- “หากไม่ได้ดื่มนมมานาน การดื่มนมจะทำให้ท้องอืด ท้องเสีย” จริงอยู่ว่า หากไม่ได้ดื่มนมมานาน ร่างกายอาจปรับตัวไม่ทันกับน้ำตาลแลคโตสในนม ส่งผลให้เกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องเสียได้ แต่หากดื่มนมเป็นประจำ ร่างกายจะปรับตัวได้ และไม่น่าจะมีอาการเหล่านี้ อย่างไรก็ตามพบมีผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับข้อความนี้ ร้อยละ 29.09
-“นมวัวช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่” พบว่ามีหลักฐานที่หนักแน่นเพียงพอที่สนับสนุนว่าการบริโภคนมช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก อย่างไรก็ตามจากผลการสำรวจพบว่ามีผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับข้อความนี้ ถึงร้อยละ 27.35
- “เด็กส่วนน้อยแพ้นมวัว” คำอธิบายคือ จริงๆแล้ว เด็กประมาณ 1.7% แพ้นมวัว อย่างไรก็ตามพบมีผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับข้อความนี้ ร้อยละ 16.20
- “เด็กที่ดื่มนมวัว จะมีมวลกระดูกเพิ่มขึ้น”: นมวัวเป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพ อุดมไปด้วยแคลเซียม และฟอสฟอรัสในสัดส่วนที่เหมาะสม ทำให้ช่วยส่งเสริมการดูดซึมแคลเซียมมีผลให้มวลกระดูกเพิ่มขึ้น และลดความเสี่ยงของการเกิดโรคกระดูกพรุน นอกจากนี้การดื่มนมเป็นประจำยังช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตและลดการสลายกระดูก อย่างไรก็ตามพบมีผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับข้อนี้ ร้อยละ 12.37
ตารางที่ 6 คุณไม่เห็นด้วยกับข้อใดต่อไปนี้
อันดับ |
คุณไม่เห็นด้วยกับข้อใดต่อไปนี้ |
จำนวน |
ร้อยละ |
1 |
นมปรุงแต่งกลิ่น/รส มีประโยชน์เท่า นมรสจืด |
459 |
39.98 |
2 |
ดื่มนมวัวประจำทำให้ มีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องเสีย ได้ง่าย |
405 |
35.28 |
3 |
หากไม่ได้ดื่มนมมานาน การดื่มนมจะทำให้ท้องอืด ท้องเสีย |
334 |
29.09 |
4 |
นมวัวช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่ |
314 |
27.35 |
5 |
ดื่มนมธัญพืช ทดแทนประโยชน์จากนมวัวได้ |
205 |
17.86 |
6 |
เด็กส่วนน้อยแพ้นมวัว |
186 |
16.20 |
7 |
เด็กที่ดื่มนมวัว จะมีมวลกระดูกเพิ่มขึ้น |
142 |
12.37 |
สรุปผลการสำรวจ
จากผลอนามัยโพล พบมีผู้ที่ดื่มนม ร้อยละ 88.94 ในขณะที่ ไม่ดื่มนม ร้อยละ 11.06 โดยผู้ที่ตอบว่าดื่มนม ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการดื่มนม 1 - 2 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 50.05 ในขณะที่มีผู้ดื่มนมเป็นประจำทุกวัน เพียงร้อยละ 19.69 โดยใน 1 วันมีปริมาณนมที่ดื่ม ส่วนใหญ่คือ 1 แก้วต่อวัน ร้อยละ 82.37 รองลงมาคือ วันละ 2 แก้ว ที่ร้อยละ 11.95 สำหรับรสชาติ/กลิ่นนมที่นิยมดื่ม คือ รสจืด ร้อยละ 58.57 รองลงมาคือ รสหวาน ร้อยละ 10.58 และรสอื่นๆ ร้อยละ 10.58 นอกจากนี้ เหตุผลที่ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่ ใช้ในการเลือกดื่มนม 3 อันดับแรก คือ มีคุณค่าทางโภชนาการ ร้อยละ 54.79 รองลงมาคือ รสชาติของนม ร้อยละ 34.41 และสินค้ามีคุณภาพ ร้อยละ 32.49
เมื่อถามความคิดเห็นเกี่ยวกับ “การดื่มนม” พบว่าผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการดื่มนม โดยแสดงความคิดเห็นว่าไม่เห็นด้วยกับข้อความที่ผิดต่อไปนี้ เช่น ร้อยละ 39.9 ไม่เห็นด้วยว่า “นมปรุงแต่งกลิ่น/รส มีประโยชน์เท่านมรสจืด” รองลงมาคือ ร้อยละ 35.2 ไม่เห็นด้วยที่ “การดื่มนมวัวประจำทำให้ มีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องเสีย ได้ง่าย” และ ร้อยละ 17.86 ไม่เห็นด้วยว่า “นมธัญพืช ทดแทนประโยชน์จากนมวัวได้” แต่อย่างไรก็ตาม ยังพบผู้ทีมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการดื่มนม โดยจากผลการสำรวจ พบมีผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับข้อความที่ถูกต้อง คือ ร้อยละ 29.09 ไม่เห็นด้วยว่า “หากไม่ได้ดื่มนมมานาน การดื่มนมจะทำให้ท้องอืด ท้องเสีย” รองลงมาคือ ร้อยละ 27.35 ไม่เห็นด้วยว่า “นมวัวช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่” ร้อยละ 16.20 ไม่เห็นด้วยว่า “เด็กส่วนน้อยแพ้นมวัว” และ ร้อยละ 12.37 ไม่เห็นด้วยกับ “เด็กที่ดื่มนมวัว จะมีมวลกระดูกเพิ่มขึ้น”
ข้อเสนอจากผลการสำรวจ
จากผลการสำรวจอนามัยโพล มีข้อเสนอให้สำนักโภชนาการ กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำผลสำรวจอนามัยโพลไปใช้ประโยชน์ดังนี้
1) ใช้เป็นข้อมูลเพื่อการวางแผนในการเพิ่มประสิทธิภาพการขับเคลื่อนงานด้านส่งเสริมสุขภาพ เน้นย้ำถึงประโยชน์ของการดื่มนม จากที่พบผู้ที่ไม่ดื่มนมเลยร้อยละ 11 และเมื่อวิเคราะห์เฉพาะผู้ที่ตอบว่าดื่มนม พบว่า ดื่มนมเพียงสัปดาห์ละ 1-2 วัน มีร้อยละ 50 ในขณะที่มีผู้ดื่มนมทุกวันร้อยละ 19 ดังนั้น จึงมีข้อเสนอให้สำนักโภชนาการ วางแผนและกำหนดมาตรการส่งเสริมให้คนทุกกลุ่มวัย โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน ให้ดื่มนมเป็นประจำ โดยดื่มนมทุกวันและวันละ 2 แก้วขึ้นไป เพื่อการเจริญเติบโตและมีพัฒนาการที่ดี และสนับสนุนให้ดื่มนมรสจืดให้มากขึ้น เนื่องจากมีคุณค่าทางโภชนาการสูงเหมาะสำหรับทุกวัย รวมถึงสร้างความรู้ให้เข้าใจถูกต้องมากขึ้นเกี่ยวกับข้อความที่ว่า “หากไม่ได้ดื่มนมมานาน การดื่มนมจะทำให้ท้องอืด ท้องเสีย” “นมวัวช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่” “เด็กส่วนน้อยแพ้นมวัว” และ “เด็กที่ดื่มนมวัว จะมีมวลกระดูกเพิ่มขึ้น” และรณรงค์ให้ผู้บริโภคเลือกดื่มนมที่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย
2) เพื่อการสื่อสารสร้างความรอบรู้ให้กับประชาชน เกี่ยวกับพฤติกรรมในการดื่มนม เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจและหันมาดื่มนมกันมากขึ้น โดยนำเสนอข้อมูลในรูปแบบที่น่าสนใจ ดึงดูดความสนใจผู้อ่าน เช่น ภาพกราฟิก วิดีโอ หรือ Infographic และคำนึงถึงประเด็นในการีสื่อสารต่อไปนี้
- การสื่อสารโดยเน้นย้ำข้อความที่หลักฐานทางวิทยาศาสตร์สนับสนุน เช่น นมวัวช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่ และการชี้แจงข้อความที่ผิดให้ถูกต้อง และอธิบายว่าทำไมจึงไม่ถูกต้อง เช่น อธิบายว่าทำไม นมปรุงแต่งรสจึงไม่ดีต่อสุขภาพมากกว่านมรสจืด โดยอ้างอิงและระบุที่มาของข้อมูลจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ
- การสื่อสารโดยนำเสนอข้อมูลอย่างครบถ้วนและใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ใช้ตัวอย่างประกอบ อธิบายถึง ความแตกต่าง ของนมแต่ละชนิด เช่น นมวัว นมแพะ นมแกะ นมถั่วเหลือง ฯลฯ เน้นย้ำข้อดีและข้อเสียของแต่ละชนิด อธิบายถึง ปริมาณ การบริโภคที่เหมาะสม ขึ้นอยู่กับวัย สุขภาพ และความต้องการของแต่ละบุคคล และอธิบายถึง ผลข้างเคียง ที่อาจเกิดขึ้น เช่น อาการแพ้นมวัว เป็นต้น
ความร่วมมมือโดย สำนักโภชนาการ
Writer | |
ภัทราภรณ์ พวงศรี |
Editor | |
สุนิสา มะลิวัลย์ |
Executive Editor | |
เบญจวรรณ ธวัชสุภา |
Data Developer | |
สุธาสินี จันส่ง |
Content Creater & Web Design | |
วิษณุ ศรีวิไล | |
มนุษย์ผู้เชื่อวันพีซมีจริง |
สรุปผลอนามัยโพล พฤติกรรมการดื่มนม.pdf |
ขนาดไฟล์ 172KB
ดาวน์โหลด 8 ครั้ง
|
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย |