กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ
กรมอนามัย ได้ดำเนินการสำรวจอนามัยโพล เรื่อง “พฤติกรรมสุขภาพและความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม เดือนมิถุนายน 2567” โดยสำรวจสถานการณ์และความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพและความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปใช้ประกอบในการสื่อสาร และสร้างความรอบรู้แก่ประชาชน รวมทั้งการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสุขภาพและความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมของประชาชนไทย โดยสำรวจระหว่างวันที่ 1 – 28 มิถุนายน 2567 มีผู้ตอบ จำนวน 760 คน สรุปผลการสำรวจ ดังนี้
ส่วนที่ 1 ความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม
1.1 ร้อยละความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม
จากผลการตอบอนามัยโพล ด้วยคำถามความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม 7 ข้อ พบว่า ข้อที่ผู้ตอบอนามัยโพล ตอบว่าสามารถทำได้ในระดับมากที่สุด เรียงตามลำดับจากมากไปน้อย คือ
1. ท่านตรวจสอบข้อมูลข่าวสารที่มาจากหลายแหล่ง ก่อนที่จะเชื่อและทำตาม ทำได้ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 38.23
2. ท่านปรับปรุงดูแลสภาพแวดล้อมที่ไม่ถูกสุขลักษณะเป็นประจำ เพื่อให้สภาพแวดล้อมสะอาดปลอดภัย และทำให้ท่านมีสุขภาพที่ดี ทำได้ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 37.61
3. ท่านสามารถค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับการเจ็บป่วยด้วยโรคจากมลพิษสิ่งแวดล้อมได้ด้วยตนเอง ทำได้ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 31.76
4. ท่านรู้ว่าจะหาข้อมูลได้จากที่ใด เมื่อมีข้อสงสัยเกี่ยวกับความเสี่ยงหรือการเจ็บป่วยที่เกิดจากมลพิษสิ่งแวดล้อม ทำได้ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 30.26
5. ท่านติดตามสถานการณ์มลพิษสิ่งแวดล้อมอย่างใกล้ชิด เพื่อดูแลป้องกันปัญหาสุขภาพที่จะเกิดขึ้นกับท่านและครอบครัว ทำได้ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 30.14
6. เมื่อได้รับข่าวสารจากสื่อต่างๆ เกี่ยวกับการป้องกันการเจ็บป่วยด้วยโรคทางมลพิษสิ่งแวดล้อม ท่านมีความเข้าใจถึงคำแนะนำและวิธีปฏิบัติตนเป็นอย่างดี ทำได้ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 28.52
7. ท่านอธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถึงวิธีการดูแลสภาพแวดล้อมและการปฏิบัติตนให้สะอาดปลอดภัย ทำได้ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 23.41
ตารางที่ 1 ร้อยละความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม
ประเด็นความรอบรู้ |
% |
||||
มากที่สุด |
มาก |
ปานกลาง |
น้อย |
น้อยที่สุด |
|
1) ท่านตรวจสอบข้อมูลข่าวสารที่มาจากหลายแหล่ง ก่อนที่จะเชื่อและทำตาม |
38.23 |
40.85 |
20.05 |
0.62 |
0.25 |
2) ท่านปรับปรุงดูแลสภาพแวดล้อมที่ไม่ถูกสุขลักษณะเป็นประจำ เพื่อให้สภาพแวดล้อมสะอาดปลอดภัย และทำให้ท่านมีสุขภาพที่ดี |
37.61 |
37.11 |
24.28 |
0.62 |
0.37 |
3) ท่านสามารถค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับการเจ็บป่วยด้วยโรคจากมลพิษสิ่งแวดล้อมได้ด้วยตนเอง |
31.76 |
47.32 |
19.68 |
0.87 |
0.37 |
4) ท่านรู้ว่าจะหาข้อมูลได้จากที่ใด เมื่อมีข้อสงสัยเกี่ยวกับความเสี่ยงหรือการเจ็บป่วยที่เกิดจากมลพิษสิ่งแวดล้อม |
30.26 |
44.08 |
23.16 |
1.74 |
0.75 |
5) ท่านติดตามสถานการณ์มลพิษสิ่งแวดล้อมอย่างใกล้ชิด เพื่อดูแลป้องกันปัญหาสุขภาพที่จะเกิดขึ้นกับท่านและครอบครัว |
30.14 |
43.21 |
24.19 |
1.00 |
0.75 |
6) เมื่อได้รับข่าวสารจากสื่อต่างๆ เกี่ยวกับการป้องกันการเจ็บป่วยด้วยโรคทางมลพิษสิ่งแวดล้อม ท่านมีความเข้าใจถึงคำแนะนำและวิธีปฏิบัติตนเป็นอย่างดี |
28.52 |
49.81 |
19.93 |
1.25 |
0.5 |
7) ท่านอธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถึงวิธีการดูแลสภาพแวดล้อมและการปฏิบัติตนให้สะอาดปลอดภัย |
23.41 |
47.07 |
26.77 |
2.49 |
0.25 |
1.2 ปัญหาอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ยังเป็นปัญหาและต้องเร่งแก้ไขมีอะไรบ้าง
ผู้ตอบแบบสำรวจ ให้ความเห็นเกี่ยวกับประเด็นปัญหาด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ยังเป็นปัญหา และต้องเร่งแก้ไขในชุมชน โดยพบว่า 3 อันดับแรก คือ มลพิษทางอากาศจากกิจกรรมต่างๆ เช่น หมอกควัน เผาในที่โล่ง ร้อยละ 61.15 รองลงมาคือ พบขยะตกค้าง/สะสม การจัดการขยะไม่ดี ร้อยละ 43.71 และปัญหาภัยพิบัติ เช่น น้ำท่วม ภัยแล้ง ภัยหนาว อากาศร้อน ร้อยละ 42.47 ตามลำดับ
ส่วนที่ 2 พฤติกรรมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
2.1 คุณทำพฤติกรรมเหล่านี้บ่อยแค่ไหน
พบว่าพฤติกรรมสุขภาพ ที่ผู้ตอบแบบสำรวจทำเป็นประจำมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ กินอาหารปรุงสุก สะอาด ร้อยละ 96.16 รองลงมาคือ ล้างมือบ่อยๆ ร้อยละ 93.80 และทำความสะอาดห้องน้ำเป็นประจำ ร้อยละ 88.23 รายละเอียดดังตารางที่ 2
ตารางที่ 2 คุณทำพฤติกรรมเหล่านี้บ่อยแค่ไหน
พฤติกรรมสุขภาพ |
% |
||
ประจำ |
บางครั้ง |
ไม่ได้ทำ |
|
1) กินอาหารปรุงสุก สะอาด |
96.16 |
3.84 |
- |
2) ล้างมือบ่อย ๆ |
93.80 |
6.20 |
- |
3) ทำความสะอาดห้องน้ำเป็นประจำ |
88.23 |
11.77 |
- |
4) ทำความสะอาดบ้านเป็นประจำ |
87.98 |
12.02 |
- |
5) สวมหน้ากากเมื่ออยู่ในพื้นที่ฝุ่นสูง |
87.73 |
11.90 |
0.37 |
6) ติดตามสถานการณ์มลพิษสิ่งแวดล้อมและป้องกันตนเองได้ |
81.91 |
18.09 |
- |
7) แยกขยะก่อนทิ้ง/กำจัด |
78.07 |
21.56 |
0.37 |
สรุปผลการสำรวจ
จากผลสำรวจอนามัยโพลประจำเดือนมิถุนายน 2567 เรื่อง พฤติกรรมสุขภาพและความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม พบว่า สถานการณ์ปัญหาด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในชุมชนที่เป็นปัญหาและต้องเร่งแก้ไข 3 อันดับแรก คือ ปัญหามลพิษทางอากาศจากกิจกรรมต่างๆ เช่น หมอกควัน เผาในที่โล่ง ร้อยละ 61.15 รองลงมาคือ ขยะตกค้าง/สะสม การจัดการขยะไม่ดี ร้อยละ 43.71 และภัยพิบัติ เช่น น้ำท่วม ภัยแล้ง ภัยหนาว อากาศร้อน ร้อยละ 42.47
เมื่อถามถึง พฤติกรรมสุขภาพของผู้ตอบแบบสำรวจ ที่ทำเป็นประจำมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ กินอาหารปรุงสุก สะอาด ร้อยละ 96.45 รองลงมาคือ ล้างมือบ่อยๆ ร้อยละ 94.08 และทำความสะอาดห้องน้ำเป็นประจำ ร้อยละ 88.68 ตามลำดับ ในขณะที่พฤติกรรมที่ปฏิบัติเป็นประจำได้น้อย คือ การแยกขยะก่อนทิ้ง/กำจัด ร้อยละ 78.07 ติดตามสถานการณ์มลพิษสิ่งแวดล้อมและป้องกันตนเองได้ ร้อยละ 81.91 ตามลำดับ
สำหรับเรื่องความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ข้อที่ผู้ตอบส่วนใหญ่สามารถทำได้ในระดับมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ สามารถตรวจสอบข้อมูลข่าวสารที่มาจากหลายแหล่ง ก่อนที่จะเชื่อและทำตาม รองลงมาคือ สามารถปรับปรุงดูแลสภาพแวดล้อมที่ไม่ถูกสุขลักษณะเป็นประจำ เพื่อให้สภาพแวดล้อมสะอาดปลอดภัย และทำให้มีสุขภาพที่ดี และสามารถค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับการเจ็บป่วยด้วยโรคจากมลพิษสิ่งแวดล้อมได้ด้วยตนเอง ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่ผู้ตอบสามารถปฏิบัติได้น้อยสุด คือ สามารถอธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถึงวิธีการดูแลสภาพแวดล้อมและการปฏิบัติตนให้สะอาดปลอดภัย และเมื่อได้รับข่าวสารจากสื่อต่างๆ เกี่ยวกับการป้องกันการเจ็บป่วยด้วยโรคทางมลพิษสิ่งแวดล้อม มีความเข้าใจถึงคำแนะนำและวิธีปฏิบัติตนเป็นอย่างดี ตามลำดับ
ข้อเสนอจากผลการสำรวจ
จากผลการสำรวจอนามัยโพล มีข้อเสนอให้หน่วยงานสายอนามัยสิ่งแวดล้อม นำผลการสำรวจอนามัยโพล ไปเป็นข้อมูลสนับสนุนเพื่อการวางแผน และสื่อสารเพื่อสร้างความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ดังนี้
1) วางแผนให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนงานและเร่งแก้ไขปัญหาอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ผลดพลพบว่าเป็นปัญหาในชุมชน 3 อันดับแรก คือ ปัญหามลพิษทางอากาศ เช่น หมอกควัน เผาในที่โล่ง ปัญหาขยะตกค้าง/สะสม การจัดการขยะไม่ดี และปัญหาภัยพิบัติ เช่น น้ำท่วม ภัยแล้ง ภัยหนาว อากาศร้อน
2) สื่อสารเน้นย้ำการสร้างความรู้ ความเข้าใจเพื่อให้ประชาชนสามารถปรับพฤติกรรม เพื่อตัดสินใจและบอกต่อผู้อื่นได้ ตามประเด็นที่ผลโพลพบว่าผู้ตอบสามารถปฏิบัติได้น้อย เช่น การสร้างความรู้ความเข้าใจให้ทุกคนทราบวิธีการดูแลสภาพแวดล้อมง่ายๆ และวิธีการปฏิบัติตนให้สะอาดปลอดภัยได้ โดยเฉพาะพฤติกรรมที่พบว่าทำได้น้อย (เช่น การคัดแยกขยะ ติดตามสถานการณ์มลพิษ เป็นต้น) และรักษาพฤติกรรมที่ทำได้เป็นประจำอย่างต่อเนื่อง (เช่น ทานอาหารปรุงสุก ล้างมือบ่อยๆ เป็นต้น) และสร้างความเข้าใจถึงวิธีปฏิบัติตนเพื่อป้องกันโรคจากมลพิษสิ่งแวดล้อม (เช่น การติดตามข่าวสารจากแหล่งที่เชื่อถือได้ เลือกบริโภคอาหารและน้ำดื่มที่ปลอดภัย หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มลพิษสูง เป็นต้น)