กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ
สุนิษา มะลิวัลย์
หลายพื้นที่ในประเทศไทยกำลังประสบอุทกภัย โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือและภาคกลางตอนบน และตามประกาศกรมอุตุนิยมวิทยาพยากรณ์ว่าจะมีพายุพัดผ่านประเทศไทยอีก 2 ลูก ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม จึงต้องมีการเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยกองพยากรณ์สุขภาพ กรมอนามัย ได้สำรวจอนามัยโพล เรื่อง “การเตรียมพร้อมรับมือน้ำท่วม ปี 2567” เพื่อให้ได้ข้อมูลความคิดเห็น ความกังวลด้านสุขภาพและการเตรียมพร้อมของประชาชนในการรับมือจากภัยน้ำท่วม โดยสำรวจระหว่างวันที่ 27 สิงหาคม – 6 กันยายน 2567 มีผู้ตอบ จำนวน 265 คน สรุปผลได้ดังนี้
1. คุณกังวลเกี่ยวกับน้ำท่วมในปีนี้แค่ไหน
ผู้ตอบอนามัยโพล แสดงความคิดเห็นในประเด็นความกังวลต่อสถานการณ์น้ำท่วมปี 2567 พบว่า ผู้ตอบส่วนใหญ่ มีความกังวลในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง ร้อยละ 70 รองลงมาคือ กังวลในระดับมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 23 อย่างไรก็ตามมีผู้ที่ตอบว่าไม่กังวลเลย ที่ร้อยละ 7 รายละเอียดดังตารางที่ 1
ตารางที่ 1 แสดงร้อยละความกังวลเกี่ยวกับน้ำท่วมในปี 2567
อันดับ |
ความกังวล |
ร้อยละ |
1 |
ระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง |
70 |
2 |
กังวลในระดับมากถึงมากที่สุด |
23 |
3 |
ไม่กังวล |
7 |
2. บ้านคุณเคยมีปัญหาน้ำท่วมไหม
ผู้ตอบส่วนใหญ่ ตอบว่าเคยประสบปัญหาน้ำท่วม ถึงร้อยละ 52 รองลงมาคือ ยังไม่เคย ร้อยละ 41 คาดว่าว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต ร้อยละ 4 และประสบน้ำท่วมอยู่ ร้อยละ 3 รายละเอียดดังตารางที่ 2
ตารางที่ 2 แสดงร้อยละของผู้ที่มีประสบการณ์ประสบปัญหาน้ำท่วม
อันดับ |
บ้านคุณเคยมีปัญหาน้ำท่วมไหม |
ร้อยละ |
1 |
เคย |
52 |
2 |
ยังไม่เคย |
41 |
3 |
คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต |
4 |
4 |
ประสบน้ำท่วมอยู่ |
3 |
3. ตอนนี้คุณเตรียมตัวรับมือน้ำท่วมแค่ไหนแล้ว
เมื่อถามเกี่ยวกับวิธีการเตรียมตัวรับมือน้ำท่วม พบว่าวิธีที่ผู้ตอบส่วนใหญ่ตอบมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ ติดตามระดับน้ำ ฟังข่าวทุกวัน ร้อยละ 85 รองลงมาคือ เตรียมสำรองน้ำสะอาด/อาหารแห้ง ร้อยละ 28 และเก็บของขึ้นที่สูง หรือมีถุงทรายกั้นรอบบ้าน ร้อยละ 24 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามมีผู้ตอบที่ยังไม่ได้เตรียมอะไรเลยหรือยังไม่เกิดน้ำท่วม ที่ร้อยละ 23 รายละเอียดดังตารางที่ 3
ตารางที่ 3 แสดงร้อยละของผู้ตอบเกี่ยวกับวิธีการเตรียมตัวรับมือน้ำท่วม
อันดับ |
บ้านคุณเคยมีปัญหาน้ำท่วมไหม |
ร้อยละ |
1 |
ติดตามระดับน้ำ ฟังข่าวกทุกวัน |
85 |
2 |
เตรียมสำรองน้ำสะอาด/อาหารแห้ง |
28 |
3 |
เก็บของขึ้นที่สูง หรือมีถุงทรายกั้นรอบบ้าน |
24 |
4 |
ยังไม่ได้เตรียมอะไรเลย ยังไม่เกิดน้ำท่วม |
23 |
5 |
เตรียมยาสำหรับกลุ่มเสี่ยง |
17 |
6 |
พาผู้สูงอายุ/ผู้ป่วยติดเตียงไปที่ปลอดภัย |
8 |
4. สิ่งที่คุณกลัวที่สุดเวลาเกิดน้ำท่วมคืออะไร
เมื่อถามถึงสิ่งที่กลัวหรือกังวลมากที่สุดเวลาเกิดน้ำท่วม พบว่า 3 ประเด็นแรกที่ผู้ตอบส่วนใหญ่กังวล ได้แก่ ไม่มีที่อยู่ ลำบาก ไม่มีไฟฟ้าใช้ ร้อยละ 55 รองลงมาคือ ประเด็นเดินทางลำบาก ไปไหนไม่ได้ และประเด็นไม่มีอาหาร ไม่มีน้ำกิน เท่ากันที่ ร้อยละ 54 และประเด็นบ้านพัง ข้าวของเสียหาย ร้อยละ 48 ดังตารางที่ 4
ตารางที่ 4 แสดงร้อยละของผู้ตอบเกี่ยวกับสิ่งที่กลัวที่สุดเวลาเกิดน้ำท่วม
อันดับ |
สิ่งที่กลัวที่สุดเวลาเกิดน้ำท่วม |
ร้อยละ |
1 |
ไม่มีที่อยู่ ลำบาก ไม่มีไฟฟ้าใช้ |
55 |
2 |
เดินทางลำบาก ไปไหนไม่ได้ |
54 |
3 |
ไม่มีอาหาร ไม่มีน้ำกิน |
54 |
4 |
บ้านพัง ข้าวของเสียหาย |
48 |
5 |
เจ็บป่วย เกิดอุบัติเหตุ เสียชีวิต |
34 |
6 |
อื่น ๆ |
1 |
5. ก่อนน้ำจะมาคุณอยากได้คำแนะนำด้านสุขภาพจากกรมอนามัยในเรื่องอะไร
เมื่อถามเกี่ยวกับคำแนะนำด้านสุขภาพจากกรมอนามัย พบว่า 3 เรื่องแรกที่ผู้ตอบอยากได้คำแนะนำ คือ วิธีป้องกันโรคจากน้ำท่วม ร้อยละ 57 รองลงมาคือ การทำส้วมฉุกเฉิน การขับถ่ายและกำจัดสิ่งปฏิกูลช่วงน้ำท่วม ร้อยละ 50 และการทำน้ำสะอาดไว้ใช้ในบ้าน ร้อยละ 35 รายละเอียดดังตารางที่ 5
ตารางที่ 5 แสดงร้อยละของผู้ตอบเกี่ยวกับคำแนะนำด้านสุขภาพที่อยากได้จากกรมอนามัย
อันดับ |
คำแนะนำด้านสุขภาพจากกรมอนามัย |
ร้อยละ |
1 |
วิธีป้องกันโรคจากน้ำท่วม |
57 |
2 |
การทำส้วมฉุกเฉิน การขับถ่ายและกำจัดสิ่งปฏิกูลช่วงน้ำท่วม |
50 |
3 |
การทำน้ำสะอาดไว้ใช้ในบ้าน |
35 |
4 |
การดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วย |
34 |
5 |
การจัดการขยะติดเชื้อ |
34 |
6 |
การทำความสะอาดบ้านหลังน้ำลด |
27 |
7 |
การดูแลเด็กเล็ก เด็กจมน้ำ |
14 |
8 |
การปรับปรุงระบบประปาหลังน้ำลด |
12 |
สรุปผลการสำรวจ
จากผลอนามัยโพล เรื่อง “การเตรียมพร้อมรับมือน้ำท่วม ปี 2567” พบว่า ผู้ตอบส่วนใหญ่มีความกังวลในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง ร้อยละ 70 รองลงมาคือ กังวลในระดับมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 23 อย่างไรก็ตามมีผู้ที่ตอบว่าไม่กังวลเลย ที่ร้อยละ 7 ประเด็นที่มีผู้ตอบว่ากังวลมากที่สุดเวลาเกิดน้ำท่วม 3 อันดับแรก คือ ไม่มีที่อยู่ ลำบาก ไม่มีไฟฟ้าใช้ ร้อยละ 55 รองลงมาคือ ประเด็นเดินทางลำบาก ไปไหนไม่ได้ และประเด็นไม่มีอาหาร ไม่มีน้ำกิน ร้อยละ 54 และบ้านพัง ข้าวของเสียหาย ร้อยละ 48 ตามลำดับ โดยมากกว่าร้อยละ 50 เคยประสบปัญหากับน้ำท่วม รองลงมาคือ ยังไม่เคยประสบปัญหาน้ำท่วม ร้อยละ 41 และคาดว่าว่าจะเจอน้ำท่วมในอนาคต ร้อยละ 4 และกำลังประสบน้ำท่วมอยู่ ร้อยละ 3 ซึ่งผู้ตอบส่วนใหญ่มีการเตรียมตัวรับมือน้ำท่วมมากที่สุด ใน 3 ประเด็น คือการติดตามระดับน้ำ ฟังข่าวทุกวัน ร้อยละ 85 รองลงมาคือ การเตรียมสำรองน้ำสะอาด/อาหารแห้ง ร้อยละ 28 และการเก็บของขึ้นที่สูง หรือมีถุงทรายกั้นรอบบ้าน ร้อยละ 24 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามมีผู้ตอบที่ยังไม่ได้เตรียมอะไรเลย ยังไม่เกิดน้ำท่วม ที่ร้อยละ 23
ทั้งนี้ พบว่า ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่ อยากได้คำแนะนำด้านสุขภาพจากกรมอนามัยมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ วิธีป้องกันโรคจากน้ำท่วม ร้อยละ 57 รองลงมาคือ การทำส้วมฉุกเฉิน การขับถ่ายและกำจัดสิ่งปฏิกูลช่วงน้ำท่วม ร้อยละ 50 และการทำน้ำสะอาดไว้ใช้ในบ้าน ร้อยละ 35 ตามลำดับ
ข้อเสนอจากผลการสำรวจ
1. เพื่อลดความกังวลของประชาชนต่อสถานการณ์น้ำท่วม เสนอให้ทีม SEhRT ส่วนกลางกรมอนามัย และศูนย์อนามัยในพื้นที่คาดว่าจะเสี่ยงภัยน้ำท่วม
- วางแผนการรับมือน้ำท่วมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน โดยให้ความสำคัญกับประเด็นที่ประชาชนมีความกังวลได้แก่ วิธีการป้องกันและลดความเสียหายต่อทรัพย์สินบ้านเรือนและสุขภาพ การสำรองอาหารและน้ำสะอาดไว้ใช้ รวมถึงชี้แจงล่วงหน้าถึงแนวทางการเดินทางและอพยพอย่างปลอดภัยเมื่อเกิดน้ำท่วม เป็นต้น
- สื่อสารให้ประชาชนได้รับทราบสถานการณ์น้ำท่วมล่วงหน้า และแจ้งความก้าวหน้า/ผลการดำเนินงานในการเตรียมความพร้อมเป็นระยะ เพื่อลดความกังวลของประชาชน
2. เพื่อให้ประชาชนมีการเตรียมพร้อมรับมือต่อสถานการณ์น้ำท่วมได้ทันต่อสถานการณ์ เสนอให้ทีม SEhRT ส่วนกลางกรมอนามัย และศูนย์อนามัยในพื้นที่คาดว่าจะเสี่ยงภัยน้ำท่วม กำหนดกลุ่มเป้าหมายสำหรับการให้ความรู้และความช่วยเหลือ มีการลงพื้นที่ให้ความรู้แก่ประชาชนในประเด็นที่ควรมีการเตรียมความพร้อมให้มากขึ้น ได้แก่ วิธีป้องกันโรคจากน้ำท่วม การทำส้วมฉุกเฉิน การขับถ่ายและกำจัดสิ่งปฏิกูลช่วงน้ำท่วม และการทำน้ำสะอาดไว้ใช้ในบ้าน รวมทั้งแนะนำให้ติดตามข่าวสารสถานการณ์น้ำท่วมทุกวันจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้อย่างต่อเนื่อง พร้อมแนะนำช่องทางการรับข้อมูลที่เชื่อถือได้เกี่ยวกับสถานการณ์น้ำท่วมและคำเตือนภัยต่าง
ความร่ววมือโดย กองอนามัยฉุกเฉิน
Writer | |
สุนิสา มะลิวัลย์ |
Admin | |
ภัทราภรณ์ พวงศรี |
Executive Editor | |
เบญจวรรณ ธวัชสุภา |
Data Developer | |
สุธาสินี จันส่ง |
Content Creater & Web Design | |
วิษณุ ศรีวิไล | |
มนุษย์ผู้เชื่อวันพีซมีจริง |