กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ
ทีมงานอนามัยโพล
กรมอนามัย ดำเนินการสำรวจสถานการณ์และความคิดเห็นของประชาชน ด้วยเครื่องมืออนามัยโพล เรื่อง “พฤติกรรมสุขภาพและความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม” มีวัตถุประสงค์ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผน และการสื่อสารสร้างความรอบรู้แก่ประชาชนเพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่พึงประสงค์นำไปสู่การลดและป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน โดยสำรวจระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม – 30 กันยายน 2567 มีผู้ตอบจำนวน 1,222 คน สรุปผลดังนี้
|
สรุปผลการสำรวจพฤติกรรมและความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม
ไตรมาส 4/2567
(กรกฎาคม - กันยายน 2567)
กรมอนามัย ดำเนินการสำรวจสถานการณ์และความคิดเห็นของประชาชน ด้วยเครื่องมืออนามัยโพล เรื่อง “พฤติกรรมและความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม” มีวัตถุประสงค์ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผน และการสื่อสารสร้างความรอบรู้แก่ประชาชนเพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่พึงประสงค์นำไปสู่การลดและป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน โดยสำรวจระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม – 30 กันยายน 2567 มีผู้ตอบจำนวน 1,222 คน สรุปผลการสำรวจ ดังนี้
ส่วนที่ 1 ปัญหาอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ยังเป็นปัญหาและต้องเร่งแก้ไข
1.1 ปัญหาอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ยังเป็นปัญหาและต้องเร่งแก้ไขมีอะไรบ้าง
ผู้ตอบอนามัยโพล ให้ความเห็นเกี่ยวกับประเด็นปัญหาด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ยังเป็นปัญหา และต้องเร่งแก้ไขในชุมชน โดนพบว่า 3 อันดับแรก คือ มลพิษทางอากาศจากกิจกรรมต่างๆ เช่น หมอกควัน เผาในที่โล่ง ร้อยละ 63.84 รองลงมาคือพบขยะตกค้าง/สะสม/การจัดการขยะไม่ดี ร้อยละ 44.00 และปัญหาภัยพิบัติ เช่น น้ำท่วม
ภัยแล้ง ภัยหนาว อากาศร้อน ร้อยละ 40.46 ตามลำดับ รายละเอียดดังตารางที่ 1
ตารางที่ 1 ร้อยละปัญหาอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ยังเป็นปัญหาและต้องเร่งแก้ไข
อันดับ |
ปัญหาอนามัยสิ่งแวดล้อม |
ร้อยละ |
1 |
มลพิษทางอากาศจากกิจกรรมต่างๆ เช่น หมอกควัน เผาในที่โล่ง |
63.84 |
2 |
พบขยะตกค้าง/สะสม การจัดการขยะไม่ดี |
44.00 |
3 |
ปัญหาภัยพิบัติ เช่น น้ำท่วม ภัยแล้ง ภัยหนาว อากาศร้อน |
40 .46 |
4 |
น้ำไม่สะอาดต่อการอุปโภคบริโภค |
32.72 |
5 |
ร้านค้า/ร้านอาหาร จำหน่ายอาหารที่ไม่สะอาด |
32.72 |
6 |
มลพิษทางน้ำ เช่น แม่น้ำ ลำคลองมีขยะ น้ำเสีย ส่งกลิ่นเหม็น |
29 .24 |
7 |
ส้วมสาธารณะไม่สะอาด ไม่ปลอดภัย ไม่เพียงพอ |
26.96 |
8 |
พื้นที่สีเขียว ไม่เพียงพอต่อการกิจกรรมสาธารณะ |
13.06 |
9 |
การระบาดของโรคทางเดินอาหารและน้ำ เช่น อุจจาระร่วงเฉียบพลัน อาหารเป็นพิษ |
6.68 |
10 |
ปัญหาอื่น ๆ |
1.00 |
ส่วนที่ 2 ความรอบรู้และพฤติกรรมด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม
2.1 สถานการณ์ความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม
จากคำถามอนามัยโพล เกี่ยวกับความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม จำนวน 7 ข้อ โดยให้ผู้ตอบ เลือกคำตอบตามระดับความสามารถในการปฏิบัติแบ่งเป็น 5 ระดับได้แก่ ทำได้ในระดับมากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด ตามลำดับ (รายละเอียดดังตารางที่ 2) พบว่า ข้อที่ผู้ตอบส่วนใหญ่ตอบว่าสามารถทำได้ในระดับ “มากที่สุด” เรียงตามลำดับจากมากไปน้อยคือ
1. ท่านปรับปรุงดูแลสภาพแวดล้อมที่ไม่ถูกสุขลักษณะเป็นประจำ เพื่อให้สภาพแวดล้อมสะอาดปลอดภัย
และทำให้ท่านมีสุขภาพที่ดี ทำได้ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 31.34
2. ท่านตรวจสอบข้อมูลข่าวสารที่มาจากหลายแหล่ง ก่อนที่จะเชื่อและทำตาม ทำได้ในระดับมากที่สุด
ร้อยละ 28.15
3. ท่านสามารถค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับการเจ็บป่วยด้วยโรคจากมลพิษสิ่งแวดล้อมได้ด้วยตนเอง ทำได้ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 26.60
4. ท่านติดตามสถานการณ์มลพิษสิ่งแวดล้อมอย่างใกล้ชิด เพื่อดูแลป้องกันปัญหาสุขภาพที่จะเกิดขึ้นกับท่านและครอบครัว ทำได้ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 25.78
5. ท่านรู้ว่าจะหาข้อมูลได้จากที่ใด เมื่อมีข้อสงสัยเกี่ยวกับความเสี่ยงหรือการเจ็บป่วยที่เกิดจากมลพิษสิ่งแวดล้อม ทำได้ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 24.96
6. เมื่อได้รับข่าวสารจากสื่อต่างๆ เกี่ยวกับการป้องกันการเจ็บป่วยด้วยโรคทางมลพิษสิ่งแวดล้อม ท่านมีความเข้าใจถึงคำแนะนำและวิธีปฏิบัติตนเป็นอย่างดี ทำได้ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 23.90
7. ท่านอธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถึงวิธีการดูแลสภาพแวดล้อมและการปฏิบัติตนให้สะอาดปลอดภัย ทำได้ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 22.59
ตารางที่ 2 ร้อยละสถานการณ์ความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม
ประเด็นความรอบรู้ |
ร้อยละของคำตอบ |
||||
มากที่สุด |
มาก |
ปานกลาง |
น้อย |
น้อยที่สุด |
|
1. ท่านปรับปรุงดูแลสภาพแวดล้อมที่ไม่ถูกสุขลักษณะเป็นประจำ เพื่อให้สภาพแวดล้อมสะอาดปลอดภัยและทำให้ท่านมีสุขภาพที่ดี |
31.34 |
48.94 |
19.15 |
0.08 |
0.49 |
2. ท่านตรวจสอบข้อมูลข่าวสารที่มาจากหลายแหล่ง ก่อนที่จะเชื่อและทำตาม |
28.15 |
51.64 |
18.66 |
0.16 |
1.39 |
3. ท่านสามารถค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับการเจ็บป่วยด้วยโรคจากมลพิษสิ่งแวดล้อมได้ด้วยตนเอง |
26.60 |
55.48 |
17.43 |
0.16 |
0.33 |
4. ท่านติดตามสถานการณ์มลพิษสิ่งแวดล้อมอย่างใกล้ชิด เพื่อดูแลป้องกันปัญหาสุขภาพที่จะเกิดขึ้นกับท่านและครอบครัว |
25.78 |
51.96 |
20.54 |
0.49 |
1.23 |
5. ท่านรู้ว่าจะหาข้อมูลได้จากที่ใด เมื่อมีข้อสงสัยเกี่ยวกับความเสี่ยงหรือการเจ็บป่วยที่เกิดจากมลพิษสิ่งแวดล้อม |
24.96 |
54.09 |
19.56 |
0.25 |
1.15 |
6. เมื่อได้รับข่าวสารจากสื่อต่างๆ เกี่ยวกับการป้องกันการเจ็บป่วยด้วยโรคทางมลพิษสิ่งแวดล้อม ท่านมีความเข้าใจถึงคำแนะนำและวิธีปฏิบัติตนเป็นอย่างดี |
23.90 |
56.71 |
18.74 |
0.33 |
0.33 |
7. ท่านอธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถึงวิธีการดูแลสภาพแวดล้อมและการปฏิบัติตนให้สะอาดปลอดภัย |
22.59 |
47.63 |
27.09 |
0.41 |
2.99 |
2.2 สถานการณ์พฤติกรรมด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม
พฤติกรรมที่ผู้ตอบอนามัยโพล สามารถปฏิบัติเป็นประจำมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ ล้างมือบ่อยๆ ร้อยละ 93.62 รองลงมาคือ กินอาหารปรุงสุก สะอาด ร้อยละ 91.90 และสวมหน้ากากเมื่ออยู่ในพื้นที่ฝุ่นสูง ร้อยละ 90.92 อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมที่ปฏิบัติเป็นประจำได้น้อยที่สุดคือ การแยกขยะก่อนทิ้ง/กำจัด ที่ร้อยละ 77.99 รายละเอียดดังตารางที่ 3
ตารางที่ 3 คุณทำพฤติกรรมเหล่านี้บ่อยแค่ไหน
พฤติกรรมสุขภาพ |
ร้อยละของคำตอบ |
||
ประจำ |
บางครั้ง |
ไม่ได้ทำ |
|
1) ล้างมือบ่อยๆ |
93.62 |
6.30 |
0.08 |
2) กินอาหารปรุงสุก สะอาด |
91.90 |
8.02 |
0.49 |
3) สวมหน้ากากเมื่ออยู่ในพื้นที่ฝุ่นสูง |
90.92 |
9.00 |
0.08 |
4) ติดตามสถานการณ์มลพิษสิ่งแวดล้อมและป้องกันตนเองได้ |
85.27 |
14.65 |
0.08 |
5) ทำความสะอาดบ้านเป็นประจำ |
83.06 |
16.86 |
0.08 |
6) ทำความสะอาดห้องน้ำเป็นประจำ |
82.90 |
17.02 |
0.08 |
7) แยกขยะก่อนทิ้ง/กำจัด |
77.99 |
21.52 |
0.49 |
สรุปผลอนามัยโพล
จากผลสำรวจอนามัยโพล “พฤติกรรมสุขภาพและความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม” ในช่วงไตรมาส 4/2567 (วันที่ 1 กรกฎาคม – 30 กันยายน 2567) พบว่า ประเด็นปัญหาด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ยังเป็นปัญหาและต้องเร่งแก้ไขในชุมชน 3 อันดับแรก คือ มลพิษทางอากาศจากกิจกรรมต่างๆ เช่น หมอกควัน เผาในที่โล่ง ร้อยละ 63.84 รองลงมาคือพบขยะตกค้าง/สะสม/การจัดการขยะไม่ดี ร้อยละ 44.00 และปัญหาภัยพิบัติ เช่น น้ำท่วม
ภัยแล้ง ภัยหนาว อากาศร้อน ร้อยละ 40.46 ตามลำดับ
เมื่อถามถึงสถานการณ์ความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม พบว่าผู้ตอบส่วนใหญ่ทำได้ในระดับมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ ปรับปรุงดูแลสภาพแวดล้อมที่ไม่ถูกสุขลักษณะเป็นประจำ เพื่อให้สภาพแวดล้อมสะอาดปลอดภัยและทำให้มีสุขภาพที่ดี ทำได้ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 31.34 รองลงมาคือ ตรวจสอบข้อมูลข่าวสารที่มาจากหลายแหล่ง ก่อนที่จะเชื่อและทำตาม ทำได้ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 28.15 และสามารถค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับการเจ็บป่วยด้วยโรคจากมลพิษสิ่งแวดล้อมได้ด้วยตนเอง ทำได้ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 26.60 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามพบข้อที่ต้องพัฒนาให้ปฏิบัติได้มากขึ้นคือ ความสามารถในการอธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถึงวิธีการดูแลสภาพแวดล้อมและการปฏิบัติตนให้สะอาดปลอดภัย ร้อยละ 22.59
สำหรับสถานการณ์พฤติกรรมด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ที่พบผู้ตอบ “ทำเป็นประจำ” มากที่สุด 3 อันดับแรก คือ ล้างมือบ่อยๆ ร้อยละ 93.62 รองลงมาคือ กินอาหารปรุงสุก สะอาด ร้อยละ 91.90 และสวมหน้ากากเมื่ออยู่ในพื้นที่ฝุ่นสูง ร้อยละ 90.92 ตามลำดับ ในขณะที่พฤติกรรมที่ “ทำเป็นประจำ” ได้น้อยที่สุดคือ การแยกขยะก่อนทิ้งหรือกำจัด ที่ร้อยละ 77.99
ข้อเสนอจากผลอนามัยโพล
จากผลการสำรวจอนามัยโพล มีข้อเสนอให้หน่วยงานสายอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย นำผลการสำรวจอนามัยโพล ไปเป็นข้อมูลสนับสนุนเพื่อการวางแผน และนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการสื่อสาร ดังนี้
1) วางแผนเพื่อแก้ไขปัญหาด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ผู้ตอบส่วนใหญ่คิดว่ายังเป็นปัญหาและต้องเร่งแก้ไขในชุมชน ได้แก่ ปัญหามลพิษทางอากาศ ปัญหาขยะตกค้างสะสม และปัญหาภัยพิบัติต่างๆ
2) จากผลอนามัยโพลพบว่าปัญหาเกี่ยวกับขยะตกค้างสะสม เป็นปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไขในชุมชน และในขณะเดียวกันยังพบว่าพฤติกรรมที่ผู้ตอบ “ทำเป็นประจำ” ได้น้อยที่สุดคือ การแยกขยะก่อนทิ้ง/กำจัด ดังนั้น ควรสื่อสารและส่งเสริมให้ประชาชนเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการคัดแยกและทิ้งขยะให้ถูกต้อง รวมทั้งสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหาเรื่องการจัดการขยะให้มากขึ้น
3) จากผลโพลพบว่าผู้ตอบส่วนใหญ่มีความตระหนักรู้ และมีความเข้าใจคำแนะนำและวิธีปฏิบัติตน
เพื่อป้องกันโรคจากมลพิษสิ่งแวดล้อมได้ดี อย่างไรก็ตาม ยังมีประเด็นที่ต้องพัฒนาให้สามารถปฏิบัติได้มากขึ้นคือ สามารถอธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถึงวิธีการดูแลสภาพแวดล้อมและการปฏิบัติตนให้สะอาดปลอดภัย จึงควรจัดกิจกรรมเพิ่มการสื่อสารและรณรงค์สร้างความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับผลกระทบของมลพิษสิ่งแวดล้อมต่อสุขภาพ สนับสนุนให้ประชาชนได้รับการพัฒนาทักษะในการอธิบายข้อมูลวิธีการดูแลด้านสุขภาพและสภาพแวดล้อม รวมทั้งสามารถสื่อสารให้สมาชิกในครอบครัวได้รับความรู้และคำแนะนำในการปฏิบัติตนด้านสุขอนามัยให้ถูกต้อง
ผลสำรวจอนามัยโพลพฤติกรรมสุขภาพ ไตรมาส 4 2-10-67.pdf |
ขนาดไฟล์ 161KB
ดาวน์โหลด 31 ครั้ง
|
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย |