กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ
ภัทราภรณ์ พวงศรี
ผลการสำรวจพฤติกรรมการล้างมือ พบว่า พฤติกรรมการล้างมือที่พบว่าทำได้ทุกครั้งมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ ล้างมือทุกครั้งหลังออกจากห้องส้วม ร้อยละ 97.03 รองลงมาคือ หลังสัมผัสสิ่งสกปรก เช่น น้ำมูก น้ำลาย ขยะ ร้อยละ 96.39 และก่อนเตรียม ปรุง ประกอบอาหาร ร้อยละ 93.68 ทั้งนี้ยังพบว่า พฤติกรรมการล้างมือ ที่ทำได้น้อย ได้แก่ การล้างมือทุกครั้งหลังกลับมาจากนอกบ้าน ทำได้ร้อยละ 79.18 และการล้างมือทุกครั้งก่อนกินอาหารทำได้ร้อยละ 89.86 โดยส่วนใหญ่ผู้ตอบบแบบสำรวจส่วนใหญ่ล้างมือด้วยน้ำและสบู่ ร้อยละ 95.09 รองลงมา คือ ใช้แอลกอฮอล์เจล ร้อยละ 71.88 และล้างด้วยน้ำ ร้อยละ 57.43 ตามลำดับ
สำหรับเรื่องความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับการล้างมือ พบว่า ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่คิดว่า การล้างมือ มี 7 ขั้นตอน ร้อยละ 81.58 ในขณะที่ผู้ตอบแบบสำรวจเกือบ 20 % (หรือ 1 ใน 5 คน) ยังไม่รู้ ขั้นตอนวิธีการล้างมือที่ถูกต้อง นอกจากนี้ พบว่า ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่เข้าถึงและรับรู้วิธีการล้างมือที่ถูกต้องจากแหล่งข่าว ต่อไปนี้คือ โปสเตอร์ บอร์ดประชาสัมพันธ์ ป้ายประชาสัมพันธ์ทั่วไป ร้อยละ 60.53 รองลงมาคือ เฟสบุ๊ค (Facebook) ร้อยละ 56.30 และโทรทัศน์ ร้อยละ 50.10 ตามลำดับ
ตามที่ กรมอนามัย ได้ดำเนินการสำรวจอนามัยโพลเรื่องพฤติกรรมการล้างมือ อย่างต่อเนื่องในปี 2566 และ 2567 สามารถนำผลการสำรวจที่ได้มาเปรียบเทียบเบื้องต้น เพื่อชี้ให้เห็นสถานการณ์แนวโน้มพฤติกรรมการล้างมือของผู้ตอบได้ โดยปี 2566 สำรวจระหว่างวันที่ 2 ถึง 20 ตุลาคม 2566 มีผู้ตอบ 754 คน และในปี 2567 สำรวจระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม – 8 พฤศจิกายน 2567 มีผู้ตอบ 3,876 คน สรุปผลการเปรียบเทียบผลสำรวจ ดังนี้
พฤติกรรมการล้างมือ พบว่าการล้างมือมีแนวโน้มดีขึ้นในปี 2567 คือ ล้างมือทุกครั้งหลังออกจากห้องส้วม เพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 95.36 เป็นร้อยละ 97.03 รองลงมาคือ ล้างมือหลังสัมผัสสิ่ง สกปรก เช่น น้ำมูก น้ำลาย ขยะ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 95.49 เป็นร้อยละ 96.39 สำหรับพฤติกรรมล้างมือที่ทำได้คงที่ คือ ล้างมือก่อนเตรียม
ปรุงประกอบอาหาร ที่ร้อยละ 93.63 - 93.68 และการล้างมือทุกครั้งก่อนกินอาหาร ทำได้ร้อยละ 89.66 - 89.86 อย่างไรก็ตาม พบว่า พฤติกรรมการล้างมือ ที่ทำได้น้อยและมีแนวโน้มลดลง ได้แก่ การล้างมือทุกครั้งหลังกลับมาจากนอกบ้าน จากทำได้ร้อยละ 86.34 ลดลงเหลือ 79.18
สำหรับวิธีการล้างมือ พบว่าผู้ตอบส่วนใหญ่ล้างมือด้วยน้ำและสบู่ คงที่ที่ร้อยละ 94.25-95.09 แต่กลับพบว่า ล้างมือด้วยแอลกอฮอล์เจล จากร้อยละ 71.88 ลดลงเหลือร้อยละ 55.06 และล้างด้วยน้ำ จากร้อยละ 57.43 ลดลงเหลือร้อยละ 53.25
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการล้างมือที่ถูกต้อง ยังพบว่าผู้ตอบมีความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการล้างมือ 7 ขั้นตอน คงที่ ในปี 2566 ที่ร้อยละ 81.43 และในปี 2567 ที่ร้อยละ 81.58
จากผลสำรวจอนามัยโพล มีข้อเสนอต่อสำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำผลอนามัยโพลไปใช้ประโยชน์ ดังนี้
กรมอนามัย ได้ดำเนินการสำรวจอนามัยโพลเรื่อง "มือสะอาดสำคัญอย่างไร : Why are clean hands still important?” เพื่อรวบรวมข้อมูล พฤติกรรมการล้างมือของประชาชน อีกทั้งพฤติกรรมสุขภาพและความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมด้านอื่นๆ และนำไปใช้ประกอบการจัดกิจกรรมรณรงค์วันล้างมือโลก ประจำปี 2567 ซึ่งในปีนี้ กรมอนามัยได้จัดกิจกรรมภายใต้คำขวัญที่ว่า"มือสะอาดสำคัญอย่างไร : why are you clean hands still important? รวมถึงใช้ในการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ เพื่อเสริมสร้างความรอบรู้สุขภาพ จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป โดยสำรวจระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม – 8 พฤศจิกายน 2567 มีผู้ตอบ 3,876 คน สรุปผลการสำรวจ ดังนี้
พฤติกรรมการล้างมือในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ผลการสำรวจ 3 อันดับแรก พบว่า ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่
มีพฤติกรรมล้างมือทุกครั้งหลังออกจากห้องส้วม มากที่สุด ร้อยละ 97.03 รองลงมาคือ หลังสัมผัสสิ่ง สกปรก เช่น น้ำมูก น้ำลาย ขยะ ร้อยละ 96.39 และก่อนเตรียม ปรุง ประกอบอาหาร ร้อยละ 93.68 ตามลำดับ
สำหรับพฤติกรรมการล้างมือ ที่ทำได้น้อย ได้แก่ การล้างมือทุกครั้งหลังกลับมาจากนอกบ้าน ทำได้ร้อยละ 79.18 และการล้างมือทุกครั้งก่อนกินอาหาร ทำได้ร้อยละ 89.86 รายละเอียดดังตาราง
นอกจากนี้ ผู้ตอบแบบสำรวจ ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าล้างมือก่อนทำกิจกรรมต่อไปนี้ ได้แก่ ก่อนกอดผู้สูงอายุ และเด็กเล็ก ก่อนและหลังสัมผัสผู้ป่วย เมื่อจะจับสัมผัสดวงตา หรือใบหน้า ก่อนทำแผล ก่อนเข้านอน
รวมทั้งล้างมือหลังทำกิจกรรมเหล่านี้ ได้แก่ ออกกำลังกาย หลังทานอาหาร หลังขายของ หลังขับรถ หลังไปสถานที่มีคนแออัด (เช่น ตลาด สวนสาธารณะ รถโดยสารสาธารณะ ห้องน้ำสาธารณะ ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น) หลังจับสิ่งของที่เป็นสาธารณะ (เช่น บันไดเลื่อน รถเข็นในห้างสรรพสินค้า กดลิฟท์ กดตู้เอทีเอ็ม แสกนนนิ้วเข้างาน
เป็นต้น) เมื่อรู้สึกว่ามือไม่สะอาด มีสิ่งสกปรก หรือหลังกิจกรรมที่ต้องใช้มือเยอะ (เช่น หลังทำสวน หลังทำความสะอาดบ้าน) หลังจับ เล่น หรือให้อาหารสัตว์ หลังจับรองเท้า เท้า หลังหยิบหรือจับสิ่งของที่มีสารเคมีผสม ทาครีม หลังจับเงิน หรือ ธนบัติ รับของจากคนส่งของ เป็นต้น
อันดับ |
พฤติกรรมการล้างมือ |
ร้อยละของคำตอบ |
||
ทุกครั้ง |
บางครั้ง |
ไม่ปฏิบัติ |
||
1 |
หลังออกจากห้องส้วม |
97.03 |
2.94 |
0.03 |
2 |
หลังสัมผัสสิ่งสกปรก เช่น น้ำมูก น้ำลาย ขยะ |
96.39 |
3.56 |
0.05 |
3 |
ก่อนเตรียม ปรุง ประกอบอาหาร |
93.68 |
6.30 |
0.03 |
4 |
ก่อนกินอาหาร |
89.86 |
10.01 |
0.13 |
5 |
หลังกลับมาจากนอกบ้าน |
79.18 |
20.67 |
0.15 |
พบว่า ผู้ตอบบแบบสำรวจส่วนใหญ่ล้างมือด้วยน้ำและสบู่ ร้อยละ 94.25 รองลงมา คือ ใช้แอลกอฮอล์เจล ร้อยละ 55.06 และล้างด้วยน้ำ ร้อยละ 53.25 รายละเอียดดังตารางที่ 2 นอกจากนี้มีผู้ระบุคำตอบอื่นๆ ว่าล้างมือด้วยการเช็ดทิชชูเปียก น้ำยาล้างจาน น้ำมะกรูดหรือน้ำมะนาว เป็นต้น
อันดับ |
วิธีการล้างมือ |
ร้อยละ |
1 |
ล้างมือด้วยน้ำและสบู่ |
94.25 |
2 |
ใช้แอลกอฮอล์เจล |
55.06 |
3 |
ล้างด้วยน้ำ |
53.25 |
ผลการสำรวจ พบว่า ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่คิดว่า การล้างมือมี 7 ขั้นตอน ร้อยละ 81.58 รองลงมา คือ 5 ขั้นตอน ร้อยละ 12.62 และ 3 ขั้นตอน ร้อยละ 4.05 รายละเอียดดังตาราง
อันดับ |
เมื่อแปรงฟันทุกครั้ง ท่านใช้ยาสีฟันหรือไม่ แบบใด ? |
ร้อยละ |
1 |
7 ขั้นตอน |
81.58 |
2 |
5 ขั้นตอน |
12.62 |
3 |
3 ขั้นตอน |
4.05 |
4 |
9 ขั้นตอน |
1.75 |
ผลการสำรวจช่องทางการรับทราบข้อมูลวิธีการล้างมือ พบว่าแหล่งข้อมูล 3 อันดับแรก ที่ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่รับรู้วิธีการล้างมือที่ถูกต้องมาจาก โปสเตอร์ ร้อยละ 60.53 รองลงมาคือ เฟสบุ๊ค ร้อยละ 56.30 และโทรทัศน์ ร้อยละ 50.10 รายละเอียดดังตารางที่ 4
อันดับ |
ท่านได้ใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์หรือไม่ |
ร้อยละ |
1 |
โปสเตอร์ |
60.53 |
2 |
เฟสบุ๊ค |
56.30 |
3 |
โทรทัศน์ |
50.10 |
4 |
เว็บไซต์ |
47.65 |
5 |
ไลน์ |
45.79 |
6 |
TikTok |
36.63 |
ผู้ตอบแบบสำรวจ 3,876 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 82.30 ส่วนใหญ่มีอายุอยู่ในช่วง 45 - 59 ปี ร้อยละ 44.22 รองลงมาคือ 24-44 ปี ร้อยละ 32.76 มีอาชีพ อสม. ร้อยละ 26.17 รองลงมาคือ เกษตรกร ร้อยละ 17.22 เจ้าหน้าที่สาธารณสุข/บุคลากรทางการแพทย์/บุคลากรกระทรวงสาธารณสุข ร้อยละ 17.11 และรับราชการ/รัฐวิสาหกิจ/พนักงานของรัฐ/ลูกจ้างรัฐ (ที่ไม่ได้อยู่ภาคสาธารณสุข) ร้อยละ 15.80 และส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ร้อยละ 65.62 รองลงมาคือ อยู่ในพื้นที่ของเทศบาลตำบล ร้อยละ 22.19 ตามลำดับ
ข้อมูลทั่วไป |
จำนวนผู้ตอบ |
ร้อยละ |
เพศ |
||
หญิง |
3,190 |
82.30 |
ชาย |
641 |
16.54 |
LGBTQIAN+ |
45 |
1.16 |
อายุ |
||
ต่ำกว่า 15 ปี |
55 |
1.41 |
15 - 24 ปี |
141 |
3.63 |
25 - 44 ปี |
1,270 |
32.76 |
45 - 59 ปี |
1,714 |
44.22 |
60 ปี ขึ้นไป |
696 |
17.95 |
อาชีพ |
||
นักเรียน/นักศึกษา |
75 |
1.94 |
พนักงานบริษัทเอกชน/ลูกจ้างเอกชน |
49 |
1.26 |
เจ้าหน้าที่สาธารณสุข/บุคลากรทางการแพทย์/บุคลากรกระทรวงสาธารณสุข |
663 |
17.11 |
รับราชการ/รัฐวิสาหกิจ/พนักงานของรัฐ/ลูกจ้างรัฐ (ที่ไม่ได้อยู่ภาคสาธารณสุข) |
612 |
15.80 |
ธุรกิจส่วนตัว/ค้าขาย (ที่ไม่ใช่ในตลาด)/อาชีพอิสระ |
131 |
3.38 |
ค้าขาย (ในตลาด) |
70 |
1.81 |
รับจ้างทั่วไป |
317 |
8.18 |
แม่บ้าน/พ่อบ้าน |
194 |
5.01 |
อสม. |
1,014 |
26.17 |
เกษตรกร |
667 |
17.22 |
ว่างงาน/ระหว่างรองาน |
14 |
0.36 |
เกษียณราชการ |
49 |
1.27 |
อื่น ๆ |
12 |
0.49 |
เขตการปกครอง |
|
|
เขตการปกครองรูปแบบพิเศษ (กทม./พัทยา) |
107 |
2.76 |
เทศบาลตำบล |
860 |
22.19 |
เทศบาลนคร |
157 |
4.05 |
เทศบาลเมือง |
517 |
13.34 |
องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) |
2,235 |
57.66 |
ความร่วมมือ สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม
Writer | |
ภัทราภรณ์ พวงศรี |
Editor | |
สุนิสา มะลิวัลย์ |
Executive Editor | |
เบญจวรรณ ธวัชสุภา |
Data Developer | |
สุธาสินี จันส่ง |
Content Creater & Web Design | |
วิษณุ ศรีวิไล | |
มนุษย์ผู้เชื่อวันพีซมีจริง |