คุณกำลังมองหาอะไร?

ฝุ่

ฝุ่นไม่เคยจิ๋ว อย่าชิลล์กับ PM2.5! | อนามัยโพล

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

09.12.2567
58
0
แชร์
09
ธันวาคม
2567

ภัทราภรณ์ พวงศรี

 

จากช่วงที่สำรวจอนามัยโพล เดือนพฤศจิกายน 2567 ซึ่งเป็นช่วงก่อนที่จะเกิดปัญหา PM2.5 ที่จะเริ่มเกิดขึ้นในช่วงเดือน ธ.ค. เป็นต้นไป โดยจะพบ PM2.5 เริ่มเกินมาตรฐาน (ระดับสีส้ม) ในพื้นที่ภาคกลาง กรุงเทพ และปริมณฑล ผู้ตอบอนามัยโพล ร้อยละ 55 ตอบว่าในชุมชนหรือบริเวณที่อยู่อาศัยของตนเอง มีปัญหา PM2.5 ในขณะที่ ร้อยละ 45 ตอบว่าในชุมชนที่อาศัยอยู่ไม่มีปัญหา PM2.5 ทั้งนี้ ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่มีความวิตกกังวลหรือกลัวว่าฝุ่น PM2.5 จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพและคนในครอบครัว ในระดับเล็กน้อยถึงปานกลางที่ร้อยละ 58 ในระดับมากถึงมากที่สุดที่ร้อยละ 33 ในขณะที่มีผู้ตอบว่าไม่กังวลเลย ร้อยละ 9 ตามลำดับ

สำหรับพฤติกรรมการเตรียมตัวดูแลสุขภาพของตนเองและคนในครอบครัว ในช่วงก่อนเกิดปัญหา PM2.5 พบว่า 3 อันดับแรก ตอบว่าเตรียมสำรองหน้ากากป้องกันฝุ่น ที่ร้อยละ 76 ในขณะที่ ตอบว่าเตรียมทำความสะอาดบ้าน ล้างแอร์ พัดลม ร้อยละ 57 และทำความเข้าใจค่าสี PM2.5 และคำแนะนำการปฏิบัติตน ร้อยละ 44 ตามลำดับ

เมื่อถามถึงแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการป้องกันตัวเองจากฝุ่น PM2.5 ที่ผู้ตอบได้รับมากที่สุด 3 อันดับแรกคือ จาก Social Media เช่น Facebook / Line / Twitter / Website ร้อยละ 74 รองลงมาคือ สื่อโทรทัศน์ ร้อยละ 47 และโรงพยาบาล/ศูนย์บริการสาธารณสุข/คลินิก ร้อยละ 41 ตามลำดับ
ผู้ตอบแบบสำรวจมีประเด็นที่อยากให้หน่วยงานด้านสาธารณสุขดำเนินการเพื่อดูแลสุขภาพของประชาชนจากปัญหาฝุ่น PM2.5 ใน 3 อันดับแรก คือ การให้บริการความรู้ ข้อมูลข่าวสารและการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพที่ประชาชนเข้าถึงได้ ร้อยละ 44 รองลงมา คือ การเฝ้าระวังและแจ้งเตือนในชุมชน เกี่ยวกับสถานการณ์และความเสี่ยงต่อสุขภาพ ร้อยละ 20 และการบังคับใช้มาตรการทางกฎหมายเพื่อควบคุมจัดการปัญหา PM2.5 ร้อยละ 16 ตามลำดับ โดยผู้ตอบแบบสำรวจอยากให้หน่วยงานด้านสาธารณสุขสื่อสารให้ความรู้เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องต่อไปนี้ ใน 3 อันดับแรก คือ การให้ความรู้เกี่ยวกับอาการและผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก ร้อยละ 41 รองลงมาคือการให้ข้อมูลเกี่ยวกับสารอันตรายที่อยู่ในฝุ่น PM2.5 และการดูแลตนเองเบื้องต้นเมื่อมีอาการ โดยมีสัดส่วนเท่ากันที่ร้อยละ 19 ตามลำดับ และการเลือกและใช้หน้ากากกันฝุ่นที่ถูกต้อง ที่ร้อยละ 10 ตามลำดับ

จากผลการสำรวจอนามัยโพล มีข้อเสนอให้เสนอให้กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ และทีม SEhRT กรณี PM 2.5 ทั้งส่วนกลางกรมอนามัย และศูนย์อนามัยที่ 1 – 12 และสถาบันสุขภาวะเขตเมือง นำผลสำรวจอนามัยโพลไปเป็นข้อมูลประกอบเพื่อการวางแผนในการเพิ่ม ประสิทธิภาพการดำเนินมาตรการทางการแพทย์และสาธารณสุข กรณี PM 2.5 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ การสื่อสารสร้างความเข้าใจให้ประชาชนปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง ในประเด็นดังนี้

1. การสื่อสารและสร้างความรอบรู้ เพื่อพัฒนากระบวนการสื่อสารและสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับปัญหา PM2.5 ให้ประชาชนสามารถเข้าใจ ป้องกัน และดูแลตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการพัฒนาช่องทางการสื่อสาร และออกแบบเนื้อหาและช่องทางการสื่อสารที่ประชาชนส่วนใหญ่เข้าถึงได้ โดยเฉพาะทาง Social Media และสื่อโทรทัศน์ การสร้างคอนเทนต์ที่เข้าใจง่าย กระชับ และน่าสนใจ ครอบคลุมประเด็นสำคัญที่คนส่วนใหญ่ต้องการรู้ ได้แก่
• อาการและผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่น PM2.5
• สารอันตรายที่อยู่ในฝุ่น PM2.5
• วิธีการดูแลตนเองเบื้องต้น
• ส่งเสริมให้ประชาชนมีทักษะการป้องกันตนเอง เช่น การใช้หน้ากากอนามัยที่ถูกต้อง

2. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการเพื่อดูแลสุขภาพของประชาชนจากปัญหาฝุ่น PM2.5 ในประเด็นที่ผู้ตอบอยากให้หน่วยงานด้านสาธารณสุขเร่งดำเนินการ ได้แก่
• การให้บริการความรู้ ข้อมูลข่าวสารและการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพที่ประชาชนเข้าถึงได้
• การเฝ้าระวังและแจ้งเตือนในชุมชน เกี่ยวกับสถานการณ์และความเสี่ยงต่อสุขภาพ
• การบังคับใช้มาตรการทางกฎหมายเพื่อควบคุมจัดการปัญหา PM2.5 เป็นต้น

 

กรมอนามัย ได้ดำเนินการสำรวจอนามัยโพลเรื่อง “ฝุ่นไม่เคยจิ๋ว อย่าชิลล์กับ PM2.5” เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการเตรียมตัวในการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่น PM2.5 เพื่อนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ในการจัดทำข้อเสนอเพื่อการวางแผนดำเนินงานตามมาตรการทางการแพทย์และสาธารณสุขกรณี PM2.5 และการสื่อสารสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพแก่ประชาชนต่อไป โดยทำการสำรวจระหว่างวันที่ 1 – 30 พฤศจิกายน 2567 มีผู้ตอบ 1,171 คน สรุปผลการสำรวจ ดังนี้

1. ในชุมชนหรือบริเวณที่ท่านอยู่มีปัญหา PM2.5 หรือไม่

ผู้ตอบส่วนใหญ่ ตอบว่าในชุมชนหรือบริเวณที่อยู่อาศัยของตนเอง มีปัญหา PM2.5 ร้อยละ 55 ในขณะที่ ร้อยละ 45 ตอบว่าในชุมชนที่อาศัยอยู่ไม่มีปัญหา PM2.5 รายละเอียดดังตารางที่ 1

ตารางที่ 1 ในชุมชนหรือบริเวณที่ท่านอยู่มีปัญหา PM2.5 หรือไม่

อันดับ

ประเด็น

จำนวน

ร้อยละ

1

มี

647

55

2

ไม่มี

524

45

 

2. คุณกังวลว่า PM2.5 จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคุณและคนในครอบครัวระดับใด

เมื่อถามถึงความวิตกกังวลหรือกลัวว่าฝุ่น PM2.5 จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของตนเองและคนในครอบครัว โดยวิเคราะห์แบบจัดกลุ่มรวมเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง พบที่ร้อยละ 58 และในกลุ่มระดับมากถึงมากที่สุดที่ร้อยละ 33 ในขณะที่มีผู้ตอบว่าไม่กังวลเลย ร้อยละ 9 ตามลำดับ รายละเอียดดังตารางที่ 2

ตารางที่ 2 คุณกังวลว่า PM2.5 จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคุณและคนในครอบครัวระดับใด

อันดับ

ประเด็น

จำนวน

ร้อยละ

1

กังวลปานกลาง

371

32

2

กังวลเล็กน้อย

308

26

3

กังวลมาก

276

23

4

กังวลมากที่สุด

115

10

5

ไม่กังวล

101

9

 

3. ในช่วงก่อนเกิดปัญหา PM2.5 ท่านเตรียมตัวดูแลสุขภาพของตนเองและคนในครอบครัวอย่างไร

สำหรับการเตรียมการป้องกันและดูแลสุขภาพของตนเองและคนในครอบครัว ในช่วงก่อนเกิดปัญหา PM2.5 พบว่า ผู้ตอบร้อยละ 76 ดำเนินการสำรองหน้ากากป้องกันฝุ่น รองลงมา คือ การทำความสะอาดบ้าน ล้างแอร์ พัดลม คิดเป็นร้อยละ 57 และการทำความเข้าใจค่าสี PM2.5 และคำแนะนำในการปฏิบัติตน คิดเป็นร้อยละ 44 ตามลำดับอย่างไรก็ตาม จากผลการสำรวจยังพบว่า มีผู้ที่ไม่ได้เตรียมการใดๆ เพื่อรับมือกับสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก คิดเป็นร้อยละ 2 รายละเอียดดังตารางที่ 3

ตารางที่ 3 ในช่วงก่อนเกิดปัญหา PM2.5 ท่านเตรียมตัวดูแลสุขภาพของตนเองและคนในครอบครัวอย่างไร

อันดับ

ประเด็น

จำนวน

ร้อยละ

1

สำรองหน้ากากป้องกันฝุ่น

886

76

2

ทำความสะอาดบ้าน ล้างแอร์ ล้างพัดลม

670

57

3

ทำความเข้าใจค่าสี PM2.5 และคำแนะนำในการปฏิบัติตนแต่ละระดับ

513

44

4

ออกกำลังกาย ดูแลสุขภาพให้ร่างกายแข็งแรง

407

35

5

ติดตั้งเครื่องฟอกอากาศ

215

18

6

ปลูกต้นไม้ เพื่อดักฝุ่น

173

15

7

เตรียมยาประจำตัว

89

8

8

เตรียมห้องปลอดฝุ่น

33

3

9

ไม่ได้เตรียมตัวเลย

24

2

 

4. คุณได้รับข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการป้องกันตัวเองจากฝุ่น PM2.5 จากแหล่งใดบ้าง?

ผู้ตอบแบบสำรวจ ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการป้องกันตัวเองจากฝุ่น PM2.5 จากแหล่งข้อมูลต่างๆ โดยแหล่งข้อมูลที่ผู้ตอบส่วนใหญ่ได้รับข้อมูลมากที่สุด 3 อันดับแรกคือ จาก Social Media เช่น Facebook / Line / Twitter / Website ร้อยละ 74 รองลงมาคือ สื่อโทรทัศน์ ร้อยละ 47 และโรงพยาบาล/ศูนย์บริการสาธารณสุข/คลินิก ร้อยละ 41 ตามลำดับ รายละเอียดดังตารางที่ 4

ตารางที่ 4 คุณได้รับข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการป้องกันตัวเองจากฝุ่น PM2.5 จากแหล่งใดบ้าง ?

อันดับ

ประเด็น

จำนวน

ร้อยละ

1

สื่อสังคมออนไลน์ เช่น Line, Facebook, Instagram, Website

863

74

2

โทรทัศน์

556

47

3

โรงพยาบาล /ศูนย์บริการสาธารณสุข /คลินิก

486

41

4

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) /อาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร (อสส.)

328

28

5

เว็บไซต์ของหน่วยงานรัฐ

320

27

6

แอปพลิเคชัน Air4Thai

164

14

7

วิทยุ /เสียงตามสายชุมชน /หอกระจายข่าว

90

8

8

แอปพลิเคชัน Life Dee

54

4

9

แผ่นพับหรือโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์

53

4

10

อื่นๆ

10

1

 

5. หน่วยงานด้านสาธารณสุขต้องดำเนินการเรื่องใดมากที่สุด เพื่อดูแลสุขภาพของประชาชน

จากผลการสำรวจพบว่า ผู้ตอบแบบสำรวจอยากให้หน่วยงานด้านสาธารณสุขดำเนินการเพื่อดูแลสุขภาพของประชาชนจากปัญหาฝุ่น PM2.5 ในประเด็นที่ต้องการมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ การให้บริการความรู้ ข้อมูลข่าวสารและการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพที่ประชาชนเข้าถึงได้ ร้อยละ 44 รองลงมา คือ การเฝ้าระวังและแจ้งเตือนในชุมชน เกี่ยวกับสถานการณ์และความเสี่ยงต่อสุขภาพ ร้อยละ 20 และการบังคับใช้มาตรการทางกฎหมายเพื่อควบคุมจัดการปัญหา PM2.5 ร้อยละ 16 ตามลำดับ รายละเอียดดังตารางที่ 5

ตารางที่ 5 หน่วยงานด้านสาธารณสุขต้องดำเนินการเรื่องใดมากที่สุด

อันดับ

ประเด็น

จำนวน

ร้อยละ

1

ให้บริการความรู้ ข้อมูลข่าวสาร และการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพที่ประชาชนเข้าถึงได้

512

44

2

เฝ้าระวังและแจ้งเตือนในชุมชน เกี่ยวกับสถานการณ์และความเสี่ยงต่อสุขภาพ

234

20

3

บังคับใช้มาตรการทางกฎหมาย เพื่อควบคุมจัดการปัญหา PM2.5

193

16

4

พัฒนาศักยภาพให้ความรู้แก่ อสม. ให้มีความเข้าใจและสามารถนำไปบอกต่อในชุมชนได้

96

8

5

ทีมหน่วยแพทย์เคลื่อนที่/อสม ออกเยี่ยมบ้าน ให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพ และติดตามดูแลกลุ่มเสี่ยง

74

6

6

แจกอุปกรณ์วัดค่าฝุ่น อุปกรณ์ป้องกันแก่กลุ่มเสี่ยง เช่น หน้ากากกันฝุ่น

34

3

7

มีการให้บริการด้านสาธารณสุข เช่น เปิดคลินิกมลพิษ เตรียมห้องปลอดฝุ่น สายด่วน ระบบรักษาส่งต่อผู้ป่วย

25

2

8

อื่นๆ

3

1

 

6. ท่านอยากให้หน่วยงานด้านสาธารณสุขสื่อสารให้ความรู้เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องใดมากที่สุด

ผู้ตอบแบบสำรวจอยากให้หน่วยงานด้านสาธารณสุขสื่อสารให้ความรู้เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องต่อไปนี้ 3 อันดับแรก (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) คือ การให้ความรู้เกี่ยวกับอาการและผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก คิดเป็นร้อยละ 41 รองลงมาคือ การให้ข้อมูลเกี่ยวกับสารอันตรายที่อยู่ในฝุ่น PM2.5 และการดูแลตนเองเบื้องต้นเมื่อมีอาการ โดยมีสัดส่วนเท่ากันที่ร้อยละ 19 และการเลือกและใช้หน้ากากกันฝุ่นที่ถูกต้อง ที่ร้อยละ 10 ตามลำดับ รายละเอียดดังตารางที่ 6

ตารางที่ 6 ท่านอยากให้หน่วยงานด้านสาธารณสุขสื่อสารให้ความรู้เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องใดมากที่สุด

อันดับ

ประเด็น

จำนวน

ร้อยละ

1

อาการ/ผลกระทบต่อสุขภาพจาก PM2.5

478

41

2

สารอันตรายที่อยู่ในฝุ่น PM2.5

226

19

3

การดูแลตนเองเบื้องต้น เมื่อมีอาการจาก PM2.5

218

19

4

การเลือกและใช้หน้ากากกันฝุ่นที่ถูกต้อง

120

10

5

การทำบ้าน/ห้องปลอดฝุ่น หรือ มุ้งสู้ฝุ่น

57

5

6

การปลูกต้นไม้ดักฝุ่น

26

2

7

วิธีอ่านค่า PM2.5

25

2

8

การเลือกใช้เครื่องฟอกอากาศ

11

1

9

เรื่องอื่นๆ เช่น การออกไปทำกิจกรรมนอกบ้านที่ปลอดภัยเพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อสุขภาพ จากโรคต่างๆที่เกิดจากฝุ่นจิ๋ว

10

1

 

ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสำรวจ

ผู้ตอบแบบสำรวจ 1,171 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 82 ส่วนใหญ่มีอายุอยู่ในช่วง 25 - 44 ปี
ร้อยละ 40 รองลงมาคือ 45 - 59 ปี ร้อยละ 39 และอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 18 ตามลำดับ มีอาชีพรับราชการ/รัฐวิสาหกิจ/พนักงานของรัฐ/ลูกจ้างรัฐ ร้อยละ 35 รองลงมาคือ อสม. ร้อยละ 20 และเกษตรกร ร้อยละ 12ตามลำดับ เป็นผู้ที่อาศัยอยู่พื้นที่การดูแลของเทศบาลตำบล ร้อยละ 45 รองลงมาคือ องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ร้อยละ 19

ข้อมูลทั่วไป

จำนวนผู้ตอบ

ร้อยละ

เพศ

หญิง   

955

82

ชาย

181

15

LGBTQIAN+

35

3

อายุ

ต่ำกว่า 15 ปี

-

-

15 - 24 ปี       

35

3

25 - 44 ปี       

468

40

45 - 59 ปี       

457

39

60 ปี ขึ้นไป     

211

18

อาชีพ

รับราชการ/รัฐวิสาหกิจ/พนักงานของรัฐ/ลูกจ้างรัฐ

412

35

อสม.

236

20

เกษตรกร

140

12

แม่บ้าน/พ่อบ้าน

87

7

ธุรกิจส่วนตัว/ค้าขาย/อาชีพอิสระ

87

7

รับจ้างทั่วไป

78

7

พนักงานบริษัทเอกชน/ลูกจ้างเอกชน

50

4

เกษียณราชการ

38

3

นักเรียน/ นักศึกษา

27

2

อื่นๆ

10

1

ว่างงาน/ระหว่างรองาน

6

1

เขตการปกครอง

เขตการปกครองรูปแบบพิเศษ (กทม./พัทยา)

182

16

เทศบาลตำบล

532

45

เทศบาลนคร

105

9

เทศบาลเมือง

135

11

องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)

217

19

 

 

 

 

 

 

 

  Writer
 
  ภัทราภรณ์ พวงศรี

 

  Editor
 
  สุนิสา มะลิวัลย์

 

  Executive Editor
 
  เบญจวรรณ ธวัชสุภา

 

  Data Developer
 
  สุธาสินี จันส่ง

 

  Graphic & Web Design
 
  วิษณุ ศรีวิไล
 

มนุษย์ผู้เชื่อวันพีซมีจริง

 

 

  Proofreader
 
  นัฐพร รอดสุข
 

คณะสาธารณสุขศาสตร์ สาขาอนามัยสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

 

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน