คุณกำลังมองหาอะไร?

ตรียมรับมือให้พร้อม ”พายุฤดูร้อน” 14-17 พ.ค. 66 - อนามัยพยากรณ์

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

12.05.2566
56
0
แชร์
12
พ.ค.
2566

  อนามัยพยากรณ์  

“ผลกระทบต่อสุขภาพจากพายุฤดูร้อน”


   พายุฤดูร้อน (Tropical Cyclone) เป็นพายุที่เกิดจากความร้อนของทะเล โดยส่วนใหญ่จะเกิดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทยด้วย การเกิดพายุฤดูร้อนในประเทศไทย พบในเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคมของทุกปี โดยตัวอย่างของพายุฤดูร้อนที่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทยเช่น พายุหมุด ในปี 2557 และพายุเมฆา ในปี 2554


 

"ปี 2566 มีพายุโมคา (Mocha) ในอ่าวเบงกอล โดยส่งผลต่อประเทศไทย
คาดว่าวันที่ 14-17พ.ค.66
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก
จะมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่ง มีลมกระโชกแรงและอาจเกิดน้ำท่วม"

 


 

    คาดการณ์ผลกระทบต่อสุขภาพ จากลมกระโชกแรง ฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก ทำให้เกิดการบาดเจ็บและเสียชีวิตโดย จากสถิติพบแนวโน้มผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุทกภัยและวาตภัยเพิ่มขึ้นตั้งแต่หลังปี 2563 โดยแนวโน้มผู้เสียชีวิตจากวาตภัยและอุทกภัยเพิ่มขึ้นจากปี 2563 ที่ 58 ราย เป็น 102 รายในปี 2565

 


 

    คำแนะนำ: ความรุนแรงของพายุฤดูร้อนเป็นเหตุการณ์ที่ไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ ดังนั้นการเตรียมความพร้อมก่อนเกิดเหตุการณ์จึงเป็นสิ่งสำคัญ ดังนี้

  1. ติดตามสถานการณ์พายุจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมอุตุนิยมวิทยา
  2. ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก
  3. ระวังอันตรายจากลมกระโชกรุนแรง อาจเกิดปัญหาไฟดับ และหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรงและหลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์มือถือขณะเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง

 

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน