คุณกำลังมองหาอะไร?

ปัจ

ปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะและพฤติกรรมสุขภาพด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมของประชาชน : อนามัยพยากรณ์

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

15.08.2567
64
0
แชร์
15
สิงหาคม
2567

ภัทราภรณ์ พวงศรี

จากสถานการณ์ปัญหาด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน ซึ่งเป็นปัญหาที่ซับซ้อนและส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนอย่างมาก โดยสถานะด้านสุขภาพของประชาชนไทยมีแนวโน้มของสถานการณ์โรคที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมเพิ่มสูงขึ้น เช่น โรคระบบทางเดินหายใจ โรคที่เกิดจากอาหารและน้ำเป็นสื่อ ซึ่งโรคเหล่านี้สามารถป้องกันได้หากประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจและมีทักษะในการจัดการสภาพแวดล้อมที่ให้ถูกสุขลักษณะ ติดตามสถานการณ์มลพิษสิ่งแวดล้อม เข้าใจคำแนะนำและวิธีปฏิบัติตนเมื่อได้รับข่าวสารจากสื่อต่าง ๆ เกี่ยวกับโรคจากสิ่งแวดล้อมได้

กรมอนามัย ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับทักษะและพฤติกรรมด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมของประชาชนไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์แนวโน้มระดับทักษะและพฤติกรรมด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม และเพื่อค้นหาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทักษะและพฤติกรรมด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมของประชาชนไทย โดยใช้เครื่องมืออนามัยโพล เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2565 – 30 กันยายน 2566 จากกลุ่มตัวอย่างทั่วประเทศ 27,666 คน สรุปผลการศึกษา ดังนี้

1. สถานการณ์พฤติกรรมด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม พบว่า พฤติกรรมที่ทำได้เป็นประจำมากที่สุด คือ การกินอาหารปรุงสุก สะอาด ร้อยละ 92.5 สวมหน้ากากเมื่อป่วยหรือมีอาการเกี่ยวกับทางเดินหายใจ ร้อยละ 90.3 ล้างมือบ่อย ๆ ก่อนรับประทานอาหาร หลังใช้ส้วม ร้อยละ 88.3 แสดงดังภาพที่ 1

 

ภาพที่ 1 สถานการณ์พฤติกรรมด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในภาพรวม ปีงบประมาณ 2566

 

2. ทักษะด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม พบว่า ทักษะด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ปฏิบัติได้มากที่สุด คือ สามารถปรับปรุงดูแลสภาพแวดล้อมที่ไม่ถูกสุขลักษณะเป็นประจำ เพื่อให้สภาพแวดล้อมสะอาดปลอดภัยและทำให้มีสุขภาพที่ดีได้ ร้อยละ 80.9 สามารถติดตามสถานการณ์มลพิษสิ่งแวดล้อมอย่างใกล้ชิด ที่ร้อยละ 79.1 และเมื่อได้รับข่าวสารจากสื่อต่าง ๆ เกี่ยวกับการป้องกันการเจ็บป่วยด้วยโรคทางมลพิษสิ่งแวดล้อม สามารถเข้าใจถึงคำแนะนำและวิธีปฏิบัติตนเป็นอย่างดี ร้อยละ 78.6 แสดงดังภาพที่ 2

 

ภาพที่ 2 แสดงสถานการณ์ทักษะด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในภาพรวม ปีงบประมาณ 2566

 

3. ปัจจัยที่มีอิทธิต่อระดับพฤติกรรมด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและทักษะด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม
     3.1 จากการวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับพฤติกรรมด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม โดยใช้ Multivariate Logistic Regression Analysis พบว่า เพศ อายุ อาชีพ และพื้นที่พักอาศัยมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับระดับพฤติกรรมด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ดังนี้
     - เพศหญิงมีพฤติกรรมด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมดีกว่าเพศชาย 2.98 เท่า
     - กลุ่มอายุมากกว่า 15 ปี มีพฤติกรรมด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมดีกว่ากลุ่มอายต่ำกว่า 15 ปี 1.29 เท่า โดยกลุ่มอายุที่มีพฤติกรรมด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมดีที่สุด คือกลุ่มอายุมากกว่า 60 ปี
     - พื้นที่พักอาศัย พบว่า ผู้ที่พักในเขตเทศบาลตำบล มีพฤติกรรมด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมดีกว่าผู้ที่อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) 2.48 เท่า
     - อาชีพมีผลต่อการมีพฤติกรรมด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม โดยอาชีพที่มีพฤติกรรมด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมดีที่สุด คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในขณะที่กลุ่มนักเรียนนักศึกษา มีพฤติกรรมด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าอาชีพอื่น ๆ ดังตารางที่ 1
     3.2 จากการวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับทักษะด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม โดยใช้ Multivariate Logistic Regression Analysis พบว่า เพศ อายุ อาชีพ และพื้นที่พักอาศัยมีความสัมพันธ์กับระดับทักษะด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนี้
     - เพศหญิงมีทักษะด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมดีกว่าเพศชาย 1.29 เท่า
     - กลุ่มอายุมากกว่า 15 ปี มีทักษะด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ดีกว่ากลุ่มอายุน้อยกว่า 15 ปี โดยกลุ่มอายุที่มีทักษะด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมมากที่สุด คือ กลุ่มอายุ 15-24 ปี
     - พื้นที่พักอาศัย พบว่า ผู้ที่พักในเขตพื้นที่รูปแบบการปกครองพิเศษ มีทักษะด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมดีกว่า ผู้ที่อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล 1.36 เท่า
     - กลุ่มอาชีพที่มีทักษะด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมดีที่สุด คือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในขณะที่กลุ่มพนักงานบริษัทเอกชน/ลูกจ้าง มีทักษะด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมน้อยกว่ากลุ่มอาชีพอื่น ๆ ดังตารางที่ 2

 

ข้อเสนอแนะ

1) เพื่อการวางแผนส่งเสริมให้ประชาชนมีพฤติกรรมด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เสนอให้หน่วยงานส่วนกลาง กรมอนามัยและศูนย์อนามัย วางแผนและรณรงค์ให้ประชาชนมีพฤติกรรมด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมมากขึ้นโดยเฉพาะการทำความสะอาดบ้าน และแยกขยะก่อนทิ้ง รวมทั้งคืนข้อมูล เพิ่มการสื่อสารประชาสัมพันธ์ผ่านเครือข่ายในพื้นที่ให้ถึงประชาชนให้มากขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบล และกลุ่มนักเรียนนักศึกษา ให้เกิดความเข้าใจด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม มีช่องทางการสื่อสารที่เหมาะกับเด็ก สามารถซักถามแลกเปลี่ยนกันได้ สามารถตัดสินใจ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจนถึงขั้นสามารถบอกต่อได้ เป็นการประยุกต์หลักการความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health literacy) เพื่อให้มีพฤติกรรมด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น
2) เพื่อการสื่อสารสร้างความรอบรู้ เพื่อเพิ่มทักษะด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม เสนอให้หน่วยงานส่วนกลางกรมอนามัยและศูนย์อนามัย ส่งเสริมการสร้างการรับรู้ และสร้างความตระหนักด้านสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างความรอบรู้และเพิ่มทักษะด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะกลุ่มผู้ที่อยู่ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบล ให้มีความรอบรู้ในการป้องกันตนเองและลดความเสี่ยงด้านสุขภาพจากมลพิษสิ่งแวดล้อม
3) ข้อเสนอเพื่อการศึกษาต่อไปในอนาคต ควรศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างทักษะและพฤติกรรมด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมกับการเจ็บป่วยด้วยโรคจากสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ถึงการมีทักษะและพฤติกรรมด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมที่พึงประสงค์จะช่วยลดและป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพได้

 

ตารางที่ 1 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับพฤติกรรมด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม

ข้อมูลทั่วไป

Odd Ratios

P-value

95%CI

LL

UL

เพศ

ชาย

1

     

หญิง

2.98

0.00**

2.18

4.06

อายุ

<15 ปี

1

 

 

 

15-24 ปี

1.38

0.76

0.18

10.56

25-44 ปี

3.07

0.27

0.42

22.68

45-59 ปี

6.48

0.07

0.87

48.07

>60 ปี

10.08

0.03*

1.28

79.55

พื้นที่พักอาศัย

องค์การบริหารส่วนตำบล

1

 

 

 

เขตการปกครองรูปแบบพิเศษ (กทม./พัทยา)

1.31

0.65

0.41

4.20

เทศบาลตำบล

2.48

0.02*

1.17

5.25

เทศบาลนคร/เทศบาลเมือง

0.07

0.00**

0.05

0.09

อาชีพ

ค้าขาย (ในตลาด)

1

 

 

 

ธุรกิจส่วนตัว/ค้าขาย (ที่ไม่ใช่ในตลาด)/

0.87

0.83

0.24

3.16

นักเรียน/ นักศึกษา

0.26

0.04*

0.08

0.93

พนักงานบริษัทเอกชน/ลูกจ้าง

1.21

0.80

0.27

5.43

รับจ้างทั่วไป

0.23

0.02*

0.07

0.75

รับราชการ/รัฐวิสาหกิจ/พนักงานของรัฐ/ลูก

0.63

0.44

0.19

2.06

ว่างงาน/ระหว่างรองาน

0.25

0.07

0.05

1.11

อสม.

3.89

0.03*

1.15

13.15

เกษตรกร

4.55

0.02*

1.25

16.60

เจ้าหน้าที่สาธารณสุข/บุคลากรทางการแพทย์

4.03

0.04*

1.09

14.94

แม่บ้าน/พ่อบ้าน

1.70

0.52

0.34

8.49

 

ตารางที่ 2 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับทักษะด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม

ข้อมูลทั่วไป

Odd Ratios

P-value

95%CI

LL

UL

เพศ

ชาย

1

     

หญิง

1.29

0.00**

1.18

1.41

อายุ

<15 ปี

1

 

 

 

15-24 ปี

4.42

0.00**

2.15

9.10

25-44 ปี

4.04

0.00**

1.89

8.65

45-59 ปี

3.82

0.00**

1.78

8.17

>60 ปี

3.00

0.01*

1.40

6.45

พื้นที่พักอาศัย

องค์การบริหารส่วนตำบล

1

 

 

 

เขตการปกครองรูปแบบพิเศษ (กทม./พัทยา)

1.36

0.01*

1.08

1.71

เทศบาลตำบล

1.00

0.99

0.91

1.09

เทศบาลนคร/เทศบาลเมือง

0.72

0.00**

0.63

0.82

อาชีพ

ค้าขาย (ในตลาด)

1

 

 

 

ธุรกิจส่วนตัว/ค้าขาย (ที่ไม่ใช่ในตลาด)/

1.01

0.95

0.72

1.43

นักเรียน/ นักศึกษา

0.74

0.20

0.47

1.17

พนักงานบริษัทเอกชน/ลูกจ้าง

0.60

0.01*

0.42

0.86

รับจ้างทั่วไป

0.77

0.12

0.56

1.07

รับราชการ/รัฐวิสาหกิจ/พนักงานของรัฐ/ลูก

1.21

0.25

0.88

1.66

ว่างงาน/ระหว่างรองาน

0.81

0.47

0.46

1.43

อสม.

1.32

0.07

0.98

1.79

เกษตรกร

1.03

0.87

0.76

1.40

เจ้าหน้าที่สาธารณสุข/บุคลากรทางการแพทย์

2.43

0.00**

1.76

3.35

แม่บ้าน/พ่อบ้าน

1.19

0.37

0.81

1.74

 

 

  Writer
 
  ภัทราภรณ์ พวงศรี

 

  Executive Editor
 
  เบญจวรรณ ธวัชสุภา

 

  Data Developer
 
  สุธาสินี จันส่ง

 

  Content Creater & Web Design
 
  วิษณุ ศรีวิไล
 

มนุษย์ผู้เชื่อวันพีซมีจริง

 

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน